ระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการสภาผู้ฟังสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน
แนวคิดร่างระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการ
เครือข่ายผู้ฟังสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน
เกี่ยวกับเครือข่ายผู้ฟังสถานีวิทยุเสียงธรรมฯ
สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนเกิดขึ้นจากการร่วมแรงร่วมใจกันก่อตั้งขึ้นโดยประชาชนผู้มีความสนใจฟังธรรมปฏิบัติจากพระสุปฏิปันโนผู้รู้จริงเห็นจริง ซึ่งประชาชนผู้ก่อตั้งจากแต่ละจังหวัดได้พร้อมใจกันอาราธนาพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน) ขึ้นเป็นองค์ประธาน และน้อมถวายสถานีดังกล่าวแด่องค์หลวงตาพระมหาบัว ซึ่งท่านได้มอบหมายให้คณะกรรมการมูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทำหน้าที่บริหารจัดการเครือข่ายสถานีวิทยุเสียงธรรมฯ เพื่อถ่ายทอดพระธรรมเทศนาของครูบาอาจารย์พระกรรมฐานองค์สำคัญจากทั่วประเทศไทยกว่า ๒๕ องค์ และเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มีหลักธรรมเป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวในชีวิต
ปัจจุบัน สถานีวิทยุเสียงธรรมฯ มีเครือข่ายกว่า ๑๑๗ สถานี กระจายเสียงครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ และเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามเจตนารมณ์ขององค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน คณะสงฆ์และประชาชนผู้ก่อตั้ง อีกทั้งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ฟังอย่างแท้จริงและยั่งยืนตลอดไป คณะกรรมการมูลนิธิเสียงธรรมฯเห็นควรให้ประชาชนผู้ฟังทั่วประเทศ ตัวแทนกลุ่มเฉพาะ ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาเครือข่ายสถานีวิทยุเสียงธรรมฯให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ดังกล่าว จึงมีมติให้ก่อตั้ง “เครือข่ายผู้ฟัง” ขึ้นเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ โดยใช้หลักการใกล้เคียงกับ “สภาผู้ฟัง” แต่นำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของเครือข่ายสถานีวิทยุเสียงธรรมฯซึ่งการกระจายเสียงธรรมะต้องเป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวให้แก่ผู้ฟังได้อย่างแท้จริง
ปัจจุบัน สถานีวิทยุเสียงธรรมฯ มีเครือข่ายกว่า ๑๑๗ สถานี กระจายเสียงครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ และเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามเจตนารมณ์ขององค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน คณะสงฆ์และประชาชนผู้ก่อตั้ง อีกทั้งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ฟังอย่างแท้จริงและยั่งยืนตลอดไป คณะกรรมการมูลนิธิเสียงธรรมฯเห็นควรให้ประชาชนผู้ฟังทั่วประเทศ ตัวแทนกลุ่มเฉพาะ ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาเครือข่ายสถานีวิทยุเสียงธรรมฯให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ดังกล่าว จึงมีมติให้ก่อตั้ง “เครือข่ายผู้ฟัง” ขึ้นเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ โดยใช้หลักการใกล้เคียงกับ “สภาผู้ฟัง” แต่นำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของเครือข่ายสถานีวิทยุเสียงธรรมฯซึ่งการกระจายเสียงธรรมะต้องเป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวให้แก่ผู้ฟังได้อย่างแท้จริง
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามเจตนารมณ์ข้างต้น ที่ประชุมจึงกำหนดให้ผู้ฟังสถานีวิทยุในเครือข่ายทุกพื้นที่ส่งตัวแทนผู้ฟังมาแห่งละ ๒ ท่าน เพื่อร่วมกันพิจารณาออก “ระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการของเครือข่ายผู้ฟังสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน” เป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ต่อไป
๑. คำจำกัดความ
“สมาชิก” หมายถึง สมาชิกเครือข่ายผู้ฟังสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
“เครือข่ายผู้ฟัง” หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ฟังสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน และเป็นตัวแทนของผู้ฟังในแต่ละพื้นที่เพื่อให้มาแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานี
“สถานี” หมายถึง สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
“สถานีแม่ข่าย” หมายถึง สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน มีที่ตั้งอยู่ที่วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ทำหน้าที่กระจายเสียงในพื้นที่และทำการส่งสัญญาณด้วยระบบดาวเทียมไปยังสถานีลูกข่าย
“สถานีลูกข่าย” หมายถึง สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนที่ทวนสัญญาณจากสถานีแม่ข่ายเพื่อการกระจายเสียงในพื้นที่
“มูลนิธิเสียงธรรมฯ” หมายถึง มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชนในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
“ชุมชน” หมายถึง ประชาชนผู้อยู่อาศัยในพื้นที่เดียวกัน (ชุมชนเชิงพื้นที่) หรือประชาชนผู้มีความสนใจร่วมกัน (ชุมชนเชิงประเด็น) โดยไม่จำกัดว่าจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ใด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน หรือ มีความสนใจร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในที่นี้คือชุมชนกรรมฐาน ซึ่งเป็นชุมชนของผู้ที่มีความสนใจฟังธรรมะปฏิบัติและต้องการส่งเสริมการกระจายเสียงธรรมะตามแนวทางของครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ
“การประชุม” หมายถึง การมารวมกันของสมาชิกเครือข่ายผู้ฟังสถานีวิทยุเสียงธรรมหรือตัวแทน หรือการร่วมกันแสดงความเห็นโดยผ่านทางสื่ออินเตอร์เน็ต หรือการสื่อสารวิธีอื่นๆ เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง
๒. เป้าหมาย
เพื่อให้สถานีวิทยุเสียงธรรมฯ เป็นสถานีที่มีการนำเสนอเนื้อหาและเผยแผ่ธรรมะภาคปฏิบัติตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปสู่ประชาชนผู้มีความสนใจได้อย่างกว้างขวางและเหมาะสม สอดคล้องกับการดำรงชีวิต สภาพปัญหาและความต้องการของคนในสังคมโดยแท้จริงและเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของความเป็นวิทยุภาคประชาชน
๓. พันธกิจ
1. ดำรงรักษาไว้ซึ่งสถานีวิทยุเสียงธรรม ซึ่งหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโนได้เมตตารับเป็นองค์ประธาน และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีได้ทรงรับไว้ในพระอุปถัมภ์
2. ดำรงไว้ซึ่งความเป็นสถานีวิทยุของคณะสงฆ์และประชาชนโดยแท้จริง และแสดงให้เห็นว่าพุทธบริษัท4 เป็นผู้ปกปักรักษาไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาในสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานีสามารถดำเนินงานในด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยเน้นธรรมะปฏิบัติของพระกรรมฐานผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบและรู้จริงเห็นจริงตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ประชาชน สังคมและประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน
4. ส่งเสริมและสนับสนุนการดำรงไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของชาติ
5. ปกปักรักษาสถานีวิทยุเสียงธรรมและสืบทอดเจตนารมณ์ในการก่อตั้งของประชาชน เพื่อให้เป็นสถานีธรรมะแท้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่เน้นความหลากหลายของเนื้อหาธรรมะ เพื่อสนองตอบความต้องการที่หลากหลายของผู้ฟัง โดยมิให้มีกฎเกณฑ์ใดๆมาอยู่เหนือสิทธิเสรีภาพในการรับฟังธรรมะของประชาชน และเพื่อให้เป็นสมบัติอันล้ำค่าแก่ลูกหลานตลอดไป
6. ติดตาม รับฟัง ตรวจสอบ ประเมินผล และเฝ้าระวัง เพื่อให้เป็นประโยชน์สาธารณะตามความต้องการที่หลากหลายของชุมชน และแบ่งเบาภาระของคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่
7. แสดงความคิดเห็นในเชิงติชม และให้ข้อเสนอแนะในด้านการผลิตและการเผยแพร่รายการ ตลอดจนสามารถแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ได้ทันต่อเหตุการณ์ตามความต้องการของผู้ฟัง
8. ประเมินความนิยมในการฟังของผู้ชมในแต่ละพื้นที่โดยใช้วิธีการต่างๆ อาทิ การสังเกตหรือการอนุมานจากการมีส่วนร่วมของชุมชนในรายการต่างๆของสถานี
9. สอดส่องดูแลและป้องกันการครอบงำสถานีจากกลุ่มการเมือง กลุ่มทุน และกลุ่มอำนาจอื่น
10. ให้มีการติดต่อสื่อสารในการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
๔. องค์ประกอบและโครงสร้าง
|
|
ประธานเครือข่ายผู้ฟัง
|
มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๒ ปี โดยเลือกกันเองแบบสมานฉันท์จากสมาชิกเครือข่ายผู้ฟังหรือโดยการแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ต้องผ่านมติที่ประชุมของเครือข่ายผู้ฟัง
|
รองประธานเครือข่ายผู้ฟัง
|
มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๒ ปี โดยเลือกกันเองแบบสมานฉันท์จากสมาชิกเครือข่ายผู้ฟังหรือโดยการแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ต้องผ่านมติที่ประชุมของเครือข่ายผู้ฟัง
|
เลขานุการเครือข่ายผู้ฟัง
|
มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๒ ปี โดยเลือกกันเองแบบสมานฉันท์จากสมาชิกเครือข่ายผู้ฟังหรือโดยการแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ต้องผ่านมติที่ประชุมของเครือข่ายผู้ฟัง
|
สมาชิกเครือข่ายผู้ฟัง
|
ประกอบด้วย สมาชิกสามัญ และสมาชิกกิตติมศักดิ์ มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๓ ปี
|
สมาชิกสามัญ
|
- ตัวแทนผู้ฟังของแต่ละจังหวัด จังหวัดละอย่างน้อย ๒ คน
- ตัวแทนจากกลุ่มเฉพาะ กลุ่มละอย่างน้อย ๒ คน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งกันเองจากแต่ละกลุ่มเฉพาะ และผ่านการลงมติของที่ประชุมเครือข่าย ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความสมดุลระหว่างหญิงและชาย ได้แก่
(๑) กลุ่มบรรพชิต
(๒) กลุ่มเด็กและเยาวชน
(๓) กลุ่มผู้สูงอายุ
(๔) กลุ่มสตรี
(๕) กลุ่มผู้พิการ
(๖) กลุ่มชาติพันธุ์และชนกลุ่มน้อย
(๗) กลุ่มแรงงานในระบบและนอกระบบ (อย่างละ ๑ คน)
(๘) กลุ่มธุรกิจและผู้ประกอบการ
(๙) กลุ่มข้าราชการ
(๑๐) กลุ่มสุขภาพ
(๑๑) กลุ่มลูกจ้าง
(๑๒) กลุ่มช่างฝีมือ
(๑๓) กลุ่มศิลปิน
(๑๔) กลุ่มเกษตรกร
(๑๕) กลุ่มนักการศึกษา
(๑๖) กลุ่มนิสิตนักศึกษา
(๑๗) กลุ่มวิชาชีพ
(๑๘) อื่นๆ
|
สมาชิกกิตติมศักดิ์
|
ตัวแทนผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายบรรพชิตจำนวน xx รูป และตัวแทนผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายฆราวาส ด้านการศึกษา xx คน ด้านนิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชน xx คน ด้านเศรษฐศาสตร์ xx คน ด้านการแพทย์ xx คน ด้านสังคมวิทยา xx คน ด้านวิศวกรรมและเทคนิค xx คน ด้านกฎหมาย xx คน ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค xx คน ด้านรัฐประศาสนศาตร์ xx คน และด้านอื่นๆ xx คน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยผ่านการลงมติของที่ประชุมเครือข่าย เป็นผู้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่เครือข่าย
|
การประชุม
|
ประกอบด้วย การประชุมใหญ่สามัญประจำปี การประชุมวิสามัญ และการลงมติอื่นนอกเหนือจากการประชุมใหญ่สามัญประจำปี การประชุมวิสามัญ
|
การประชุมใหญ่สามัญประจำปี
|
ปีละ ๑ ครั้ง ต้องมีสมาชิกสามัญมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสามัญ
|
การประชุมวิสามัญ
|
เป็นการประชุมเมื่อมีเรื่องด่วนและสำคัญ ต้องมีสมาชิกสามัญมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสามัญ
|
การลงมติอื่น
|
เป็นการลงคะแนนโดยผ่านการสื่อสารวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น จดหมาย อีเมล์ เว็บไซต์ ฯลฯ โดยเรื่องที่ลงมติโดยวิธีนี้เป็นเรื่องที่มีระดับความสำคัญน้อยกว่าการประชุมใหญ่สามัญประจำปีและการประชุมวิสามัญ แต่ต้องมีเสียงสนับสนุนอย่างน้อยสองในสามของจำนวนสมาชิกสามัญ
|
๕. คุณสมบัติของสมาชิกเครือข่ายผู้ฟัง
ในขณะเป็นสมาชิก ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นผู้ฟังรายการของสถานีมาไม่น้อยกว่า ๒ ปี ยกเว้นสถานีที่เพิ่งก่อตั้ง ให้สมาชิกเป็นผู้ฟังมาอย่างน้อยเท่ากับจำนวนปีที่ก่อตั้ง
(๒) มีความสนใจ มีเวลา และมีจิตอาสาทำหน้าที่รวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ชมและผู้ฟังในพื้นที่ หรือในกลุ่มของตนเอง เพื่อนำเสนอต่อเครือข่ายผู้ฟังและมูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน ให้สมาชิก มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๒ ปี
(๒) มีความสนใจ มีเวลา และมีจิตอาสาทำหน้าที่รวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ชมและผู้ฟังในพื้นที่ หรือในกลุ่มของตนเอง เพื่อนำเสนอต่อเครือข่ายผู้ฟังและมูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน ให้สมาชิก มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๒ ปี
๖. สิทธิและหน้าที่ของประธานเครือข่ายผู้ฟัง
1. แสดงความเห็นในการประชุม
2. ออกเสียงลงคะแนนในการประชุม
3. เรียกประชุมใหญ่
4. ดำเนินการประชุมให้บรรลุวัตถุประสงค์
5. สิทธิและหน้าที่อื่นตามที่เครือข่ายผู้ฟังกำหนด
๗. สิทธิและหน้าที่ของรองประธานเครือข่ายผู้ฟัง
1. แสดงความเห็นในการประชุม
2. ออกเสียงลงคะแนนในการประชุม
3. ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานเครือข่ายหรือเลขานุการเครือข่าย ในกรณีที่ผู้นั้นไม่อยู่
4. สิทธิและหน้าที่อื่นตามที่เครือข่ายผู้ฟังกำหนด
๘. สิทธิและหน้าที่ของเลขานุการเครือข่ายผู้ฟัง
1. แสดงความเห็นในการประชุม
2. ออกเสียงลงคะแนนในการประชุม
3. บันทึกการประชุม และเผยแพร่สู่สมาชิกภายหลังจากได้รับการรับรองรายงานการประชุมจากประธานแล้ว
4. สิทธิและหน้าที่อื่นตามที่เครือข่ายผู้ฟังกำหนด
๙. สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกเครือข่ายผู้ฟัง
1. แสดงความเห็นในการประชุม
2. ออกเสียงลงคะแนนในการประชุม ยกเว้นสมาชิกกิตติมศักดิ์
3. เลือกตั้ง รับเลือกตั้ง หรือรับแต่งตั้ง เป็นกรรมการหรือดำรงตำแหน่งอื่นอันเกี่ยวกับเครือข่ายผู้ฟัง
4. สิทธิและหน้าที่อื่นตามที่เครือข่ายผู้ฟังกำหนด
๑๐. การสิ้นสุดลงของสมาชิกภาพ
1. ตาย
2. ลาออก
3. ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม หรือเครือข่ายผู้ฟังมีมติเพิกถอนด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสาม
๑๑. เครือข่ายผู้ฟังต้องดำเนินการอย่างเป็นอิสระ ปราศจากอคติและผลประโยชน์ทางการเมืองและเชิงพาณิชย์ โดยจะต้องยึดถือผลประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ มีกระบวนการทำงานที่เคารพในหลักการประชาธิปไตย โปร่งใส ตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน
๑๒. การดำเนินการของเครือข่ายผู้ฟังที่ได้ดำเนินการตามระเบียบ หลักเกณฑ์หรือวิธีการอื่นใดที่ไม่ขัดหรือแย้งก่อนที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าได้ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบนี้
๑๒. การดำเนินการของเครือข่ายผู้ฟังที่ได้ดำเนินการตามระเบียบ หลักเกณฑ์หรือวิธีการอื่นใดที่ไม่ขัดหรือแย้งก่อนที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าได้ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ xxx มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓
ประกาศ ณ วันที่ xxx มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓
Xxxxxxx
(xxxxxxxxxxxxxx)
ประธานเครือข่ายผู้ฟังสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนฯ
< ย้อนกลับ | ถัดไป > |
---|