มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน

You are here: หน้าหลัก ส่วนที่ 3 : การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับฟัง

ส่วนที่ 3 : การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับฟัง

อีเมล พิมพ์ PDF

1. การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับฟังสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน

                ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับฟังสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ระยะเวลาในการรับฟัง ประชาชนผู้รับฟังส่วนใหญ่ รับฟังเป็นระยะเวลา 4 ปี คิด
เป็นร้อยละ 34.7 รองลงมาได้แก่ระยะเวลา 3 ปี คิดเป็นร้อยละ 19.9  ระยะเวลา 2 ปี คิดเป็นร้อยละ16.5 และน้อยที่สุดระยะเวลาต่ำกว่า 1 ปี คิดเป็นร้อยละ 13.0 เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการรับฟังกับอาชีพพบว่า อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่รับฟังคลื่นวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนเป็นเวลาต่ำกว่า 1 ปี คิดเป็นร้อยละ 39.1 ปี อาชีพพนักงานเอกชนส่วนใหญ่รับฟังคลื่นวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนเป็น เวลา 4 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.1  อาชีพค้าขาย ส่วนใหญ่รับฟังคลื่นวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนเป็น เวลา 4 ปี คิดเป็นร้อยละ 33.6 อาชีพรับจ้าง ส่วนใหญ่รับฟังคลื่นวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนเป็น เวลา 4 ปี คิดเป็นร้อยละ 32.7  อาชีพพ่อบ้าน แม่บ้าน ส่วนใหญ่รับฟังคลื่นวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนเป็น เวลา 4 ปี คิดเป็นร้อยละ 33.8  อาชีพนักเรียน นักศึกษา ส่วนใหญ่รับฟังคลื่นวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนเป็น เวลาต่ำกว่า 1 ปี  คิดเป็นร้อยละ 31.4 อาชีพข้าราชการเกษียณ ส่วนใหญ่รับฟังคลื่นวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนเป็น เวลา 4 ปี คิดเป็นร้อยละ 44.4  อาชีพนักบวช ส่วนใหญ่รับฟังคลื่นวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนเป็นเวลา 4 ปี คิดเป็นร้อยละ 57.1 อาชีพเกษตรกร ส่วนใหญ่รับฟังคลื่นวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนเป็นเวลา 4  ปี คิดเป็นร้อยละ 32.4   และอาชีพอาชีพอิสระส่วนตัว ส่วนใหญ่รับฟังคลื่นวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนเป็นเวลา 4  ปี คิดเป็นร้อยละ 52.6
                ช่วงเวลาในการรับฟังคลื่นวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน ส่วนใหญ่ รับฟังทุกครั้งที่สะดวก คิดเป็นร้อยละ 29.19 รองลงมาคือ รับฟังช่วงเวลา 05.00-09.00 น. คิดเป็นร้อยละ 14.03 รองลงมาคือเปิดรับฟังตลอดเวลา คิดเป็นร้อยละ  13.45 และรับฟังน้อยที่สุดคือช่วงเวลา 01.01-04.59 น. คิดเป็นร้อยละ 4.68 เมื่อเปรียบเทียบ ช่วงเวลาที่รับฟังกับอาชีพ พบว่า อาชีพรับราชการ ส่วนใหญ่รับฟังทุกครั้งที่มีโอกาส คิดเป็นร้อยละ 34.2 พนักงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่รับฟังช่วงเวลา 05.00-09.00น. และ 21.01-01.00น. คิดเป็นร้อยละ 20.0 พนักงานเอกชน ส่วนใหญ่รับฟังช่วงเวลาทุกครั้งที่สะดวก คิดเป็นร้อยละ 29.2  อาชีพค้าขาย ส่วนใหญ่รับฟังช่วงเวลาทุกครั้งที่สะดวก คิดเป็นร้อยละ 33.5  และเปิดรับฟังตลอดเวลา คิดเป็นร้อยละ 14.6  อาชีพรับจ้าง ส่วนใหญ่รับฟังช่วงเวลาทุกครั้งที่สะดวก คิดเป็นร้อยละ 26.2 รองลงมาได้แก่ เปิดรับฟังตลอดเวลาคิดเป็นร้อยละ 16.9   เมื่อเปรียบเทียบ ช่วงเวลาที่รับฟังกับช่วงอายุพบว่า ช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปีส่วนใหญ่ เลือกรับฟังคลื่นวิทยุเสียงธรรมทุกครั้งที่สะดวก มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 54.3   ช่วงอายุ 21-30 ปีส่วนใหญ่ เลือกรับฟังคลื่นวิทยุเสียงธรรมทุกครั้งที่สะดวก มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 40.8 ช่วงอายุ 31-40 ปีส่วนใหญ่ เลือกรับฟังคลื่นวิทยุเสียงธรรมทุกครั้งที่สะดวก มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 31.9 ช่วงอายุ 41-50 ปีส่วนใหญ่ เลือกรับฟังคลื่นวิทยุเสียงธรรม ทุกครั้งที่สะดวก มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 26.9 ช่วงอายุ 51-60 ปีส่วนใหญ่ เลือกรับฟังคลื่นวิทยุเสียงธรรม ทุกครั้งที่สะดวก มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 25.6 และช่วงอายุสูงกว่า 60  ปีส่วนใหญ่ เลือกรับฟังคลื่นวิทยุเสียงธรรมทุกครั้งที่สะดวก มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 28.2
                                ความชัดเจนของคลื่นในการรับฟังผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ ส่วนใหญ่รับฟังคลื่นสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนมีความชัดเจน คิดเป็นร้อยละ 72.6 และรับฟังได้ไม่ชัดเจน คิดเป็นร้อยละ 25.0 เมื่อเปรียบเทียบความชัดเจนในการรับฟังกับอาชีพ พบว่า อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ รับฟังคลื่นวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนชัดเจนที่สุด คิดเป็นร้อยละ 82.60 รองลงมาคือประกอบอาชีพอิสระส่วนตัว ได้ยินคลื่นวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนชัดเจน คิดเป็นร้อยละ 78.90 และอาชีพค้าขายได้ยินคลื่นวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนชัดเจน คิดเป็นร้อยละ 76.30  อาชีพพ่อบ้าน แม่บ้าน ได้ยินคลื่นวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนชัดเจน คิดเป็นร้อยละ 75.40  อาชีพนักบวช ได้ยินคลื่นวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนชัดเจน คิดเป็นร้อยละ 71.40 และ อาชีพเกษตรกร ได้ยินคลื่นวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนชัดเจนน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 62.20  ตามลำดับ
 

สารบัญ