มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน

You are here: หน้าหลัก สรุปผลการวิจัย อภิปราย และข้อเสนอแนะ
อีเมล พิมพ์ PDF

การวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการรับฟังรายการวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM 103.25 MHz(บ้านตาด) ของประชาชนในจังหวัดอุดรธานี

1. วัตถุประสงค์การวิจัย

1.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการรับฟังรายการวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM 103.25 MHz (บ้านตาด) ของประชาชนในจังหวัดอุดรธานี

1.3 เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการรับฟังรายการวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM 103.25 MHz (บ้านตาด) ของประชาชนในจังหวัดอุดรธานี

2. วิธีการดำเนินการวิจัย

2.1 ได้ศึกษาเอกสารตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลในการสร้างเครื่องมือ

2.2 กำหนดโครงร่างของแบบสอบถามตามประเด็นสำคัญของจุดมุ่งหมายและขอบเขตการศึกษา

2.3 ร่างแบบสอบถามเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบ แก้ไข แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขตาม

ข้อเสนอแนะ

2.4 เสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมจนถูกต้องสมบูรณ์ แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์

 

3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ แบบสอบถาม (Questionnair) ที่สร้างขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าและดัดแปลงจากเอกสารและงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีความสอดคล้องกับแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ

ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 5 ข้อ

ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับฟังรายการวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM 103.25 MHz (บ้านตาด) ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 4 ข้อ

ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในการรับฟังรายการวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM 103.25 MHz (บ้านตาด) ของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยแยกเป็น

1. ด้านเทคนิค จำนวน 9 ข้อ

2. ด้านผู้ประกาศ จำนวน 10 ข้อ

3. ด้านการ ผลิตรายการ จำนวน 10 ข้อ

เกณฑ์การให้คะแนนเพื่อการวิเคราะห์ จากคำตอบตอนที่ 3 ให้ค่าคะแนนดังต่อไปนี้

5 หมายถึง ระดับความพึงพอใจมากที่สุด

4 หมายถึง ระดับความพึงพอใจมาก

3 หมายถึง ระดับความพึงพอใจปานกลาง

2 หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อย

1 หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด

4. ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ จำนวน 4 ข้อ

ตอนที่ 4 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ต่อรายการวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM 103.25 MHz (บ้านตาด) เป็นแบบคำถามปลายเปิด จำนวน 5 ข้อ

4. การเก็บรวบรวมข้อมูล

4.1 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก ตำรา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับทำการศึกษาวิจัย

4.2 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจากจำนวนที่กำหนด ซึ่งการเก็บตัวอย่างทำโดยการแจกแบบสอบถามแก่กลุ่มประชาชนตามหมู่บ้าน อำเภอ และเขตเมืองของจังหวัดอุดรธานี ใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2549 ถึง กันยายน 2549 โดยคณะผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถาม

ด้วยตนเอง และได้ชี้แจงข้อมูลในการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างละเอียด

4.3 คณะผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมแบบสอบถามที่ได้จากการตอบคำถามทั้งหมด จำนวน 400 ชุด ได้รับคืนจำนวน 400 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100

1.1 เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับฟังรายการวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM 103.25 MHz (บ้านตาด) ของประชาชนในเขตจังหวัดอุดรธานี

5. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชากรในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 383,609 คน

จำแนกเป็นชาย 220,657 คน หญิง 162,952 คน (ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดอุดรธานี

 www.dopaud.go.th/ amphur/index.php) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือประชาชนในจังหวัดอุดรธานี ปี พุทธศักราช 2549 จำนวน 400 คน ชาย 197 คน หญิง 203 คน อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป โดยสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยบังเอิญ ที่รับฟังรายการวิทยุวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM 103.25 MHz (บ้านตาด)

6. สรุปผลการวิจัย

รายการวิทยุวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM 103.25 MHz (บ้านตาด) ของประชาชนในจังหวัดอุดรธานี จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน แบบสอบถามจำนวน 400 ชุด เมื่อนำแบบสอบถามมาวิเคราะห์แล้วสามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้รายการวิทยุวิทยุเสียงธรรม เพื่อประชาชน FM 103.25 MHz (บ้านตาด) ของประชาชนในจังหวัดอุดรธานี พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 50.8 มีอายุระหว่าง 40 – 59 ปี คิดเป็นร้อยละ 41.3 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถม ศึกษา คิดเป็นร้อยละ 34.3 มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 58.3 และรับฟังรายการวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM 103.25 MHz อยู่ที่บ้านตนเอง คิดเป็นร้อยละ 56.3รายการวิทยุวิทยุเสียงธรรม เพื่อประชาชน FM 103.25 MHz (บ้านตาด) ของประชาชนในจังหวัดอุดรธานี พบว่าส่วนใหญ่รับฟังเป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 53.5 ช่วงเวลาที่รับฟังคือช่วงเช้า เวลา 05.00 – 09.00 นาฬิกา คิดเป็นร้อยละ 35.5 ใช้เวลาในการฟังประมาณ 30 นาที คิดเป็น ร้อยละ 39.5 ลักษณะการเลือกรับฟังจะนั่งฟังอย่างตั้งใจมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47.8 และลักษณะการไม่เลือกรับฟังอื่นๆมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 96.3 รับฟังรายการวิทยุวิทยุเสียงธรรม เพื่อประชาชน FM 103.25 MHz (บ้านตาด) ของประชาชนในจังหวัดอุดรธานี พบว่าส่วนใหญ่พึงพอใจการปรับระดับเสียงที่ใช้ในการออกอากาศ ค่าเฉลี่ย = 4.40 ค่าSD = 0.953 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ด้านผู้ประกาศมีความพึงพอใจการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ากรณีเกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิค ค่าเฉลี่ย = 4.48 ค่าSD = 0.944 เท่ากันกับลักษณะการพูดของผู้ประกาศชาย ค่าเฉลี่ย = 4.48 ค่าSD = 0.936 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ด้านการผลิตรายการมีความพึงพอใจการทำสปอตงานประชาสัมพันธ์ ค่าเฉลี่ย = 4.41 ค่าSD = 1.022 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากและด้านการนำไปใช้ประโยชน์มีความพึงพอใจเมื่อฟังแล้วสามารถนำไปสนทนาธรรมกับผู้อื่นได้ ค่าเฉลี่ย = 4.61 ค่าSD = 0.957 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด รายการวิทยุวิทยุเสียงธรรม เพื่อประชาชน FM 103.25 MHz (บ้านตาด) ของประชาชนในจังหวัดอุดรธานี พบว่าเพศ อายุ การศึกษา รายได้ สถานที่รับฟังที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้รับฟังเกิดการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไปในเรื่องพฤติกรรม ทัศนคติ ความรู้และการสนใจในการรับข่าวสาร โดยสอดคล้องกับแนวความคิดที่ว่า ผู้หญิงกับผู้ชายมีความแตกต่างกันมากในเรื่องความคิด ค่านิยม และทัศนคติ ทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมและสังคมกำหนดบทบาท และกิจกรรมของคนสองเพศไว้ต่างกัน ผู้หญิงจึงมักเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนไหวหรือเจ้าอารมณ์ โอนอ่อนผ่อนตามและผู้หญิงมักถูกชักจูงได้ง่ายกว่าผู้ชาย อายุถือได้ว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนมีความแตกต่างกัน ในเรื่องความคิดและพฤติกรรม โดยทั่วไปแล้วคนที่มีอายุน้อยมักจะมีความคิดเห็นเสรีนิยมยึดถืออุดมการณ์ใจร้อนและมองโลกในแง่ดีมากกว่าคนที่มีอายุมาก ในขณะที่คนที่มีอายุมากจะมีความคิดอนุรักษ์นิยมยึดถือการปฏิบัติระมัดระวัง และมองโลกในแง่ร้ายมากกว่าคนที่มีอายุน้อย สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากคนที่มีอายุประสบการณ์ในชีวิต ซึ่งเคยผ่านยุคปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนมีความผูกพันที่ยาวนานและมีผลประโยชน์ในสังคมมากกว่าคนที่มีอายุน้อย การศึกษาของผู้รับสารนั้น ทำให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมของการรับการสื่อสารต่างกันไป เช่น บุคคลที่มีการศึกษาสูง ก็จะมีความสนใจข่าวสารกว้างขวาง แต่จะไม่ค่อยเชื่ออะไรง่าย ๆ จะต้องมีหลักฐานหรือเหตุผลสนับสนุนเพียงพอจึงจะเชื่อ หรือผู้มีการศึกษาสูงมักจะใช้สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์มากกว่าสื่อวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และภาพยนตร์ เป็นต้นรายการวิทยุเสียงธรรม เพื่อประชาชน FM 103.25 MHz (บ้านตาด) ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า สถานที่ที่กลุ่มตัวอย่างเปิดรับฟังรายการเป็นประจำคือ ที่บ้านตนเอง ฟังเป็นประจำ ในช่วงเวลา 05.00 - 09.00 น. เหตุผลที่เปิดรับฟังก็เพื่อความฟังแล้วสบายใจสามารถนำไปพูดคุยหรือสนทนาเกี่ยวกับธรรมกับผู้อื่นได้ ส่วนมากก็จะฟังประมาณ 30 นาที จะฟังอย่างตั้งใจเช่นรายการสดการแสดงพระธรรมเทศนาของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน สอดคล้องกับทฤษฎี และแนวคิดเกี่ยวกับการเลือก และเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนแนวความคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ว่า ในการรับข่าวสารต่างๆ ผู้รับสารย่อมมีกระบวนการเลือกสรร (Selective Processes) ซึ่งแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ ความต้องการ ความเชื่อ ทัศนคติ ความรู้สึกนึกคิด ที่ไม่เหมือนกันของแต่ละบุคคลในการเลือกเปิดรับหรือเลือกสนใจ การเลือกรับรู้หรือตีความ การเลือกจดจำ ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดทางด้านศาสนาได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคน และกิจกรรมในชีวิตของคนตลอดชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ในระยะเริ่มต้นเด็ก ได้รับอิทธิพลทางศาสนาผ่านทางพ่อแม่โดยการอบรมสั่งสอนและปลูกฝังความคิดของพ่อแม่ ต่อมาก็ได้รับอิทธิพลของศาสนาผ่านทางโรงเรียนโดยการศึกษาเล่าเรียนตามหลักสูตรและการปฏิบัติในพิธีกรรมต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตของคน ศาสนามีอิทธิพลต่อความคิดของคนอย่างน้อยที่สุด 3 ด้านคืออิทธิพลต่อทัศนคติ ด้านศีลธรรม คุณธรรม และความเชื่อทางจรรยา อิทธิพลต่อทัศนคติด้านเศรษฐกิจ ” รายการวิทยุกระจายเสียงนั้นเป็นเหมือนดาบสองคม คืออาจจะเป็นน้ำทิพย์หรือยาพิษแก่ผู้ฟังก็ได้ จงทำรายการวิทยุของท่านให้เป็นน้ำทิพย์ชโลมใจแก่ผู้ฟังอย่างเดียวตลอดไปเถิด (จากหนังสืออนุสรณ์นักผลิตรายการวิทยุ รุ่นที่ 2 : ไม่ปรากฏหน้า)ความพึงพอใจด้านเทคนิคในการรับฟังรายการวิทยุวิทยุเสียงธรรม เพื่อประชาชน FM 103.25 MHz (บ้านตาด) ของประชาชนในจังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างพบว่าส่วนใหญ่พึงพอใจการปรับระดับเสียงที่ใช้ในการออกอากาศ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ด้านผู้ประกาศมีความพึงพอใจการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ากรณีเกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิคเท่ากันกับลักษณะการพูดของผู้ประกาศชาย อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ด้านการผลิตรายการมีความพึงพอใจการทำสปอตงานประชาสัมพันธ์ อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก และด้านการนำไปใช้ประโยชน์มีความพึงพอใจเมื่อฟังแล้วสามารถนำไปสนทนาธรรมกับผู้อื่นได้ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของแคทซ์และคณะ (Katz.E.and Other. 1974 อ้างถึงใน มสธ.2531 : 634-635) ได้อธิบายแนวความคิดเรื่องการใช้ประโยชน์และการได้รับการพึงพอใจจากสื่อมวลชนของผู้รับสารไว้ว่าเป็นการศึกษาผู้รับสารเกี่ยวกับสภาวะทางสังคมและจิตใจ ซึ่งก่อให้เกิด ความต้องการจำเป็นจองบุคคลและเกิดมีความคาดหวังจากสื่อมวลชนหรือแหล่งข่าวอื่น ๆ แล้วนำไปสู่การเปิดรับสื่อมวลชนในรูปแบบต่าง ๆ กันอันก่อให้เกิดผลคือการได้รับความพึงพอใจจากที่ต้องการ และผลอื่น ๆ ที่ตามมาซึ่งอาจจะไม่ใช่ผลที่ตั้งเจตนาไว้ก็ได้ มนุษย์มีความต้องการจำเป็นตามสภาวะทางจิตใจและสังคม เช่น ต้องการเป็นคนทันสมัย เพื่อให้เป็นที่ยอมรับภายในสังคม จึงมีความคาดหวังว่าการบริโภคข่าวสารจากสื่อมวลชน โดยเฉพาะรายการข่าว จะช่วยสนองความต้องการสารของเขาได้ ดังนั้นเขาจึงเลือกบริโภคเฉพาะรายการข่าว จากโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวิทยุกระจายเสียงเพื่อช่วยให้เกิดความพึงพอใจตามที่ตนต้องการ คือเป็นคนทันสมัย แต่การบริโภคข่าวของตนนั้นอาจเกิดผลอื่นมาที่ไม่ได้คาดหวังไว้ คือ นอกเหนือจากการเป็นคนทันสมัยแล้ว ทัศนคติ โลกทัศน์ ของเขาก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย

8. ข้อเสนอแนะ

8.1 ข้อเสนอแนะทั่วไป

8.2 ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

8.2.1 ควรศึกษาวิจัยเรื่องพฤติกรรมการรับฟัง

8.2.2 ควรศึกษาวิจัยเรื่องธรรมะกับการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชนไทย

8.1.2 ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ฟัง ผู้ฟังควรจะเลือกฟังรายการที่มีประโยชน์ต่อตัวเอง เช่น เลือกฟังรายการวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM 103.25 MHz (บ้านตาด) เพราะจะให้คติธรรมในการนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ผ่อนคลายความเครียด ทำให้จิตใจสบาย รายการวิทยุเสียงธรรม เพื่อประชาชน ของคนไทยทั่วประเทศ

8.2.3 ควรศึกษาวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทของสถานีวิทยุเสียงธรรมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

8.2.4 ควรศึกษาวิจัยเรื่องความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อบทบาทของสถานีวิทยุเสียงธรรมในการประชาสัมพันธ์ด้านศาสนา

8.1.1 ข้อเสนอแนะสำหรับรูปแบบรายการวิทยุวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM 103.25 MHz (บ้านตาด) รูปแบบรายการไม่ควรจะซ้ำซาก และควรจะมีอะไรที่แปลกใหม่ เพื่อจะได้ดึงดูดให้ผู้ฟังสนใจในเรื่องธรรมะมากขึ้น

จากการศึกษาวิจัยเรื่องพฤติกรรมการรับฟัง

6.1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับฟัง

6.2 พฤติกรรมการรับฟัง

6.3 ความพึงพอใจด้านเทคนิคในการ

6.4 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ อื่นๆ พบว่าส่วนใหญ่ต้องการให้สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน ปรับปรุงไปในทางการผลิตรายการที่แปลกใหม่ ส่งเสริมเยาวชนของชาติให้รู้จักการมีมารยาท คุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ด้านเทคนิคมีความพร้อมอยู่แล้ว แต่ควรปรับปรุงด้านความชัดเจนของเทปบันทึกเสียง กัณฑ์เทศน์ ด้านผู้ประกาศมีความเห็นว่า ผู้ประกาศบางคนยังออกเสียงคำควบกล้ำไม่ถูกต้อง ควรปรับปรุง แต่บางคนพูดเสียงชัดเจนดีมาก พูดนำเข้ารายรายการและพูดสรุปหลังรายการได้ดี ชวนให้อยากรับฟังอย่างต่อเนื่อง ด้านการผลิตรายการ มีความคิดเห็นว่า อยากให้ผลิตรายการเกี่ยวกับธรรมะอย่างนี้ตลอดไป เพราะมีประโยชน์มาก ควรปรับปรุงการผลิตรายการให้แปลกใหม่ ส่งเสริมเยาวชนของชาติให้รู้จักการมีมารยาท คุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม และด้านอื่นๆ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ได้ประโยชน์

จากการฟังรายการวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนมาก สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้ชีวิตมีสุข

7. อภิปรายผลการวิจัย

7.1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับฟัง

7.2 พฤติกรรมการรับฟัง

และอิทธิพลต่อทัศนคติด้านการเมือง จึงจะเห็นได้ว่าคนที่นับถือศาสนาต่างกันจะมีความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป แนวความคิดนี้แสดงให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกัน จะเป็นตัวกำหนดให้พฤติกรรมในการเปิดรับรายการวิทยุกระจายเสียงต่างกัน ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์ก็จะแตกต่างกันไปตามลักษณะทางกายภาพ การศึกษาและสถานภาพทางสังคม และสอดคล้องกับความคิดเห็นของกฤช ปุณณกันต์ อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (2520 : 5) ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิทยุกระจายเสียงไว้ว่า “เราทราบกันดีแล้วว่า วิทยุกระจายเสียง คือ สื่อมวลชนประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นพาหะที่อานุภาพยิ่ง ทั้งในความรวดเร็วและรัศมีไกล ใครก็ตามที่ดำรงอยู่ในรัศมีครอบคลุม คือ ผู้ฟังของท่าน ทั้งสิ้น ผู้ผลิตวิทยุกระจายเสียงที่ดีเปรียบเสมือนพ่อครัวที่มีฝีมือย่อมไม่ผลิตรายการด้วยฝีมือตนแต่ฝ่ายเดียว แต่ต้องคำนึงถึงรสนิยม และความต้องการของผู้ฟังทั้งหลายด้วย

7.3

7.4 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ อื่นๆ พบว่าส่วนใหญ่ต้องการให้สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อ

ประชาชน ปรับปรุงไปในทางการผลิตรายการที่แปลกใหม่ ส่งเสริมเยาวชนของชาติให้รู้จักการมีมารยาท คุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ด้านเทคนิคมีความพร้อมอยู่แล้ว แต่ควรปรับปรุงด้านความชัดเจนของเทปบันทึกเสียง กัณฑ์เทศน์ ด้านผู้ประกาศมีความเห็นว่า ผู้ประกาศบางคนยังออกเสียงคำควบกล้ำไม่ถูกต้อง ควรปรับปรุง แต่บางคนพูดเสียงชัดเจนดีมาก พูดนำเข้ารายรายการและพูดสรุปหลังรายการได้ดี ชวนให้อยากรับฟังอย่างต่อเนื่อง ด้านการผลิตรายการ มีความคิดเห็นว่า อยากให้ผลิตรายการเกี่ยวกับธรรมะอย่างนี้ตลอดไป เพราะมีประโยชน์มาก ควรปรับปรุงการผลิตรายการให้แปลกใหม่ ส่งเสริมเยาวชนของชาติให้รู้จักการมีมารยาท คุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม และด้านอื่นๆ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ได้ประโยชน์จากการฟังรายการวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนมาก สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้ชีวิตมีความสุข แสะสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ พิรงรอง รามสูตรณะนันท์และศศิธร ยุวโกศล (2546 : บทคัดย่อ) ทำการวิจัยเรื่อง “การกำกับดูแลเนื้อหาของสื่อวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ในประเทศไทย” สรุปได้ว่า ข้อเสนอแนะและแนวทางนโยบายสำหรับการกำกับดูแลเนื้อหาของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ออกได้เป็นประเด็นต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์ในการกำกับดูแลเนื้อหาของสื่อวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ควรปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวในสังคมที่เปลี่ยนแปลง โดยมุ่งเน้นที่เสรีภาพในกาแสดง ออก การรับรู้ข่าวสาร สิทธิส่วนบุคคล การผลิตรายการที่แปลกใหม่ และให้ได้มาตรฐานของเนื้อหา

 

สารบัญ