วิธีการสุ่มตัวอย่างและการเก็บรวบรวมข้อมูล

พิมพ์
4. วิธีการสุ่มตัวอย่าง
ในการศึกษาครั้งนี้ทำการสุ่มตัวอย่างตามพื้นที่ให้ครอบคลุมมากที่สุดได้จำนวน 55 จังหวัด และแต่ละจังหวัดใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-probability Sampling) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกของผู้เก็บข้อมูล (Convenience Sampling ) ที่ผู้รับการสัมภาษณ์ยินดีให้ข้อมูล ตามจังหวัดที่สุ่มตัวอย่างได้ข้างต้น
 
5. หน่วยการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) 
คือ ผู้แทนของครอบครัวที่รับฟังสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนในแต่ละจังหวัด
 
6. การเก็บรวบรวมข้อมูล
 การศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) และข้อมูลทุติยภูมิ ( Secondary data) โดยแบ่งออกดังนี้
6.1 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) เกิดจากการสังเกต และ จากแบบสัมภาษณ์
6.2 ข้อมูลทุติยภูมิ ( Secondary data) โดยการหาข้อมูลจากเอกสาร บทความ เพื่อเป็น
ข้อมูลพื้นฐานแนวทางในการศึกษา
 
7. การวิเคราะห์ข้อมูล
                                ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ SPSS/PC (Stattistical Package for Social Science /Personal Computerplus) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างและหาค่าสถิติ ร้อยละ ความถี่ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลประกอบคำอธิบายเชิงเหตุผลรวมถึงข้อมูลเชิงคุณภาพ
 
[ Back ]