ความหมาย “ชุมชน”

พิมพ์
 
ความหมาย “ชุมชน”
 
             §พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยาฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2524 (ราชบัณฑิตยสถาน .2524 : 112) ให้ความ

หมายว่าชุมชนหรือประชาคม คือ

1. กลุ่มย่อยที่มีลักษณะหลายประการเหมือนกันลักษณะสังคม แต่มีขนาดเล็กกว่าและมีความสนใจร่วมทีประสานงานในวง

แคบกว่า ชุมชน หมายถึง เขตพื้นที่ระดับของความคุ้นเคย และการติดต่อระหว่างบุคคล ตลอดจนพื้นฐานความยึดเหนี่ยว

เฉพาะบางอย่างที่ทำให้ชุมชนต่างไปจากกลุ่มเพื่อนบ้าน ชุมชนมีลักษณะเศรษฐกิจเป็นแบบเลี้ยงตัวเองทีจำกัดมากว่าสังคม
 
แต่ภายในวงจำกัดเหล่านั้นย่อมมีการสังสรรค์ใกล้ชิดกว่า และความเห็นอกเห็นใจลึกซึ้งกว่า  อาจจะมีสิ่งเฉพาะบางประการที่

ผูกพันเอกภาพ เช่นเชื้อชาติ ต้นกำเนิดเดิมของชาติหรือศาสนา
2. ความรู้สึกและทัศนคติทั้งมวลที่ผูกพันปัจเจกบุคคลให้รวมเข้าเป็นกลุ่ม
 
 
§  UNDP. Changing Policy and Practice from Below: Community Experiences in Poverty Reduction. A. Krishna
 
(ed.)
.“ชุมชน” (Community) คือ ดินแดนแห่งการรวมตัวทางสังคมที่เป็น การสมัครใจก่อขึ้นเองโดยประชาชน ส่วนใหญ่แล้ว

สนับสนุนตนเองเป็นเอกเทศ จากรัฐและอยู่ในกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น Community ประกอบด้วยองค์กรต่างๆ ทั้งทางการและไม่

เป็นทางการ รวมถึง กลุ่มความสนใจ (ชมรม) กลุ่มวัฒนธรรม และศาสนา สมาคมอนุรักษ์หรือพัฒนาสังคม/ กลุ่ม



§Robert M  .Maclver ( โรเบิต เอ็ม .แม็คไอเวอร์ ) ให้ความหมายไว้ในหนังสือ  Society , Its Structure and  changes ว่า
 
ชุมชนคือ กลุ่มชนที่อยู่รวมกัน และสมาชิกทุกคน ได้ให้ความสนใจ ในเรื่องราวต่างๆ   ที่เกิดขึ้นในชุมชนนั้นร่วมกัน มิเพียงแต่

ให้ความสนใจอย่างใดอย่างหนึ่งเฉพาะ แต่ให้ความสนใจโดยทั่วไป ซึ่งมีขอบเขตมากพอที่จะอยู่ร่วมกันในชีวิตประจำวัน นอก

จากนี้แล้วชุมชนนั้นอาจหมายถึง การอยู่รวมกันอย่างง่ายๆ   เช่น หมู่บ้านหนึ่ง ชนเผ่าหนึ่ง หรือการอยู่ร่วมกันขนาดใหญ่   เช่น

  เมืองหนึ่งๆ หรือประเทศหนึ่ง (ไพรัตน์ เดชะรินทร์ :  2544 : 1 –2 )



§Roland  Warran ( โรแลนด์   วอร์แรน )ให้ความหมายไว้ว่า “ชุมชน“ หมายถึง กลุ่มบุคคลหลายๆกลุ่มมารวมกันอยู่ใน

อาณาเขตและภายใต้กฎหมายหรือข้อบังคับอันเดียวกัน มีการสังสรรค์กัน มีความสนใจร่วมกัน มีผลประโยชน์คล้าย ๆกันมี

แนวพฤติกรรมเป็นอย่างเดียวกัน  เช่น ภาษาพูด  ขนบธรรมเนียม ประเพณี  หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ มีวัฒนธรรมร่วมกันนั่น

เอง ( จีรพรรณ กาญจนะจิตรา : 2530 : 11 ) 
§Cristient T . Onussen  ( คริสเตียน ที. โอนัสเซน )อธิบายว่า “ชุมชน“ ได้แก่ คนที่อยู่ร่วมกันในขอบเขตทางภูมิศาสตร์ที่

แน่นอน และมีความสัมพันธ์และโครงสร้างทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องและพึ่งพาอาศัยกัน ความสัมพันธ์และโครงสร้างดังกล่าว

มีวิวัฒนาการขึ้นมาจากกระบวนการกลุ่มที่ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ทางสิ่งแวดล้อมของชุมชนจึงถือได้ว่าเป็นกลุ่มทางดิน

แดน ทั้งนี้เพราะการพึ่งพาอาศัยกัน และการอยู่ร่วมกันเป็นปึกแผ่นภายในกลุ่มเกิดขึ้นได้เนื่องจากคนในกลุ่มสำนึกเรื่อง

เอกภาพ และความสามารถของชุมชนอันเพียงพอในการควบคุมกระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเกิดขึ้นในขอบเขต

ทางดินแดน “ (สมนึก ปัญญาสิงห์ :2532 :2  )



§   กรมการพัฒนาชุมชน ให้ความหมายว่า “ชุมชน” หมายถึง กลุ่มคนที่มีความคิดเห็นไปในแนวทางเดียวกัน และสามารถ

ดำเนินงานกิจกรรมใดๆ เพื่อประโยชน์ร่วมกันได้ (กรมการพัฒนาชุมชน:2526 : 77 )



§ชนินทร์ เจริญกุลได้ให้ทัศนะว่า “ลักษณะของชุมชนปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของชุมชนตามลักษณะหน้าที่(Functional
 
Community) มากกว่าที่จะเป็นชุมชนลักษณะทางภูมิศาสตร์(Geographical Community) กล่าวคือ ความสัมพันธ์ของคนใน

ขอบเขตพื้นที่ (area) จะเปลี่ยนไปเป็นลักษณะของเครือข่ายของกลุ่มที่มีกิจกรรมทางสังคมต่างๆ คล้ายคลึงกัน มีความสนใจ

ร่วมกัน มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน เช่น ชุมชนมุสลิม ชุมชน จส.100 ในกรุงเทพฯ เราไม่สามารถบอกได้ว่าชุมชนนี้อยู่ตรง

ไหน แต่ทุกคนมีความรู้สึกถึงความเป็นพวกเดียวกันชุมชนก็เกิดขึ้นได้”



§ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ชุมชน หมายถึง การที่คนจำนวนหนึ่งมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีความเอื้ออาทรต่อกัน มี

ความพยายามทำอะไรร่วมกัน มีการเรียนรู้ร่วมกันในการกระทำ ซึ่งรวมถึงการติดต่อสื่อสารกัน (communicate) ความเป็นชุมชน

อยู่ที่ความร่วมกัน ความเป็นชุมชนอาจเกิดขึ้นในสถานที่และสถานการณ์ต่างๆ กัน เช่น         


                1. มีความเป็นชุมชนในครอบครัว
                2. มีความเป็นชุมชนในที่ทำงาน
                3. มีความเป็นชุมชนวิชาการ (academic community)
                4. มีความเป็นชุมชนสงฆ์
             5. มีความเป็นชุมชนทางอากาศ เนื่องจากรวมตัวกันโดยใช้วิทยุติดต่อสื่อสารกัน
             6. มีความเป็นชุมชนทางอินเตอร์เนต (Internet) เป็นต้น


                ความเป็นกลุ่มก้อนหรือความเป็นชุมชนทำให้กลุ่มมีศักยภาพสูงมากเพราะเป็นกลุ่มก้อนที่มีวัตถุประสงค์ร่วม มีความ

รัก มีการกระทำร่วมกัน และมีการเรียนรู้ร่วมกัน
 
§สรุปได้ว่าชุมชน หมายถึง กลุ่มคนที่มาอยู่รวมกันในเขตหรือบริเวณเดียวกันที่แน่นอน มีวิถีการดำเนินชีวิตคล้ายกัน มีความ

รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีปฎิสัมพันธ์ต่อกันและกันอยู่ภายใต้กฎระเบียบกฎเกรฑ์เดียวกัน ดังนั้นชุมชนจึงมีองค์ประกอบดัง

ต่อไปนี้
      1.  คน  (People ) คนเป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งของชุมชนหากปราศจากคนเสียแล้วจะเป็นชุมชนไม่ได้
      2. ความสนใจร่วมกัน (Common Interest ) คนที่อยู่ในชุมชนนั้นจะต้องมีความสนใจอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน  และความ

สนใจดังกล่าวเป็นผลมาจากการอยู่ร่วมกันในอาณาเขตบริเวณเดียวกัน

      3. อาณาบริเวณ ( Area ) คนและสถานที่เกือบจะแยกกันไม่ได้ ต่างก็เป็นส่วนประกอบสำคัญและมีส่วนสัมพันธ์กันมีคนก็

ต้องมีสถานที่ แต่การจะกำหนดขอบเขตและขนาดของสถานที่ของชุมชนหนึ่งๆเป็นเรื่องยาก

      4. ปะทะสังสรรค์ต่อกัน (Interaction )  เมื่อมีคนมาอยู่ร่วมชุมชนเดียวกันแต่ละคนต้องมีจะต้องมีการติดต่อแลกเปลี่ยนและ

ปฎิบัติต่อกัน

      5.  ความสัมพันธ์ของสมาชิก ( Relationship ) ความสัมพันธ์ต่อกันของสมาชิกในชุมชนเป็นสิ่งที่ผูกพันให้สมาชิกอยู่ร่วม

กันในชุมชนนั้น
      6. วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี  ( Cultural  Traditions)  ตลอดจนแบบแผนของการดำเนินชีวิตในชุมชน( Pattern
 
of  Community Life )  ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายคลึงและเป็นรูปแบบเดียวกัน
 
§จากทัศนะของนักวิชาการข้างต้นความหมายของคำว่าชุมชนมีความแตกต่างกันบ้างคล้ายคลึงกันบ้างแต่เนื่องจากสภาพ

ทางสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา ความหมายของคำว่า “ชุมชน” จึงควรจะมีความหมายว่า “ชุมชน หมายถึง
 
กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือต่างพื้นที่ก็ได้ แต่กลุ่มบุคคลเหล่านั้น จะต้องมีความสนใจร่วมกัน (Common Interest) มี

ความสัมพันธ์กัน (Relationship) มีการกระทำระหว่างกัน (Interaction) มีความรู้สึก (Sense) และมีพื้นฐานชีวิตอย่างเดียวกัน


            คำว่า “มีพื้นฐานชีวิตอย่างเดียวกัน” นั้นหมายความว่า มีสถาบันสังคมหรือมีระบบวัฒนธรรมที่ตอบสนองความจำเป็น

เพื่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ ได้แก่ สถาบันครอบครัว เครือญาติ การเมืองการปกครอง ศาสนา ศิลปะ เป็นต้น เมื่อพิจารณาจาก

ความหมายนี้ก็พอจะมองเห็นได้ว่าความเป็น“ชุมชน”นั้นไม่ได้อยู่ที่ลักษณะกายภาพ(ต้องอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน)หรือขึ้น

อยู่กับตัวคนเท่านั้น แต่ปัจจัยชี้ขาดความเป็นชุมชนก็คือ “ความสัมพันธ์ระหว่างคนต่อคนในชุมชนนั้น”
 
 
แนวคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับชุมชนท้องถิ่น

ชุมชนท้องถิ่น หมายถึง ถิ่นฐานอันเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ที่มีความเกี่ยวพันกับสภาพทางภูมิศาสตร์และระบบความสำ

พันธ์ในสังคมซึ่งอิงอาศัยความเอื้ออาทร ความผูกพันธ์และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นเครื่องดำเนินการเพื่อให้มีชีวิตที่ดี

ร่วมกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ชุมชนท้องถิ่น หมายถึง การรวมกันของกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันทั้งความสัมพันธ์ใน

เชิงพื้นที่และความสัมพันธ์ทางสังคม เป็นหน่วยพื้นฐานของการพึ่งพาและการจัดการตนเอง มีการเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม
 
ขบวนการขับเคลื่อนทางสังคม และหน่วยจิตวิทยาวัฒนธรรมอันเป็นคุณค่าที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวตน(Indentity) ของชุมชน
 
โดยเกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ สิทธิ และอำนาจในการจัดการ


ความหมายของชุมชนท้องถิ่นตามแนวคิดทางสังคมวิทยา หมายถึง หน่วยทางสังคมและทางกายภาพอันได้แก่ ละแวก

บ้าน หมู่บ้าน เมือง โดยมีลักษณะร่วมในความหมายต่างๆคือ
1 ชุมชนท้องถิ่นในฐานะหน่วยทางอาณาบริเวณ คือมีลักษณะเป็นรูปธรรม มีสมาชิก และหลักแหล่งที่แน่นอน โดย

อาณาบริเวณทางภูมิศาสตร์

2 ชุมชนท้องถิ่นในฐานะหน่วย/ระบบทางสังคม เป็นเครือข่ายการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย สถานภาพ บทบาท
 
กลุ่มคนและสถาบันชุมชนจึงมีความสัพนธ์กันเหมือนลูกโช่
3 ชุมชนในฐานะหน่วยทางจิตวิทยาวัฒนธรรม ชุมชนจะต้องเน้นความผูกพันระหว่างสมาชิกด้วยกัน ทั้งทางด้าน

จิตวิทยาและวัฒนธรรม


            ความหมายของชุมชนท้องถิ่นตามแนวคิดมานุษยวิทยา มุ่งเน้น ความเป็นชุมชนที่ก่อให้เกิดมิตรภาพ ความเอื้อ

อาทร ความมั่นคงและความผูกพัน นักคิดในแนวนี้เสนอว่า ควรเรียกร้องให้มีชุมชนขนาดเล็กและมีโครงสร้างที่แน่นเหนียว
 
เพราะจะช่วยฟื้นฟูสภาพทางสังคมให้ดีขึ้น ใกล้ชิดและสนิสนม แนวคิดแบบนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคม

สมัยใหม่ การขยายตัวของเมือง ก่อให้เกิดความแปลกแยก ไม่มีความสนใจกันในหมู่เพื่อนมนุษย์และเป็นชุมชนในอุดมคติ

ความหมายของชุมชนท้องถิ่นตามแนวคิดเชิงระบบ มองว่าชุมชนท้องถิ่นหนึ่งๆ ก็คือหนึ่งหน่วยระบบ ที่มีปัจจัย

นำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และย้อนกลับ ซึ่งผลผลิตนี้หมายถึงระบบสังคมได้สร้างให้เกิดขึ้นละมีความสุขกับการปฏิบัติตาม

ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือกันมาและรวมไปถึงการดำรงอยู่อย่างมั่นคงถาวรในหน่วยสังคมนั้น

ความหมายชุมชนท้องถิ่นตามแนวคิดสมัยใหม่ว่าชุมชนเสมือนจริง (Virtual Community) เป็นแนวคิดชุมชน

ในรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นพร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี่สารสนเทศ และการเชื่อมโยงประเด็นปัญหา สถานการณ์ของผู้

คนในสังคมที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งแนวทางในการแก้ปัญหานั้น จึงไม่อาจจำกัดอยู่ในขอบเขตของชุมชนที่มีอาณา

บริเวณทางภูมิศาสตร์เล็กๆได้ ดังนั้นจึงต้องมีการร่วมมือกับฝ่ายต่างๆที่ทำให้เกิดชุมชนเสมือนจริงที่มีการติดต่อสื่อสารกันแบบ

ไร้พรมแดนขึ้นมา โดยกระบวนการดำเนินการนั้น มุ่งเน้นการมีจิตสำนึกต่อสาธารณะโดยส่วนรวมและเป้าหมายร่วมกัน
ความเป็นชุมชน จะปรากฏขึ้นเมื่อคนได้แสดงถึงอัตลักษณ์ คุณค่า และความสัมพันธ์ของผู้คนที่อยู่ร่วมกันนั้น

เช่น คนบ้านเดียวกัน คนบางเดียวกัน ลักษณะที่สำคัญของความเป็นชุมชนอาจจะประกอบด้วยปัจจัย 4 ประการ(ตามแนวคิด

ของ อานันท์ กาญจนพันธุ์) คือ
1 คุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรม คือคุณค่าที่เกิดจากความเอื้ออาทร การช่วยเหลือพึ่งพากัน ความซื่อสัตย์
2 ทุนทางสังคม คือวิธีคิด ระบบความรู้ในการจัดการวิถีความเป็นชุมชน เช่นการใช้ทรัพยากร การจัดระบบความสำ

พันธ์ในการอยู่ร่วมกัน เป็นต้น
3 สิทธิเกี่ยวกับความชอบธรรม ทุกคน ทุกชั้นจะต้องมีสิทธิ มีกระบวนการยุติธรรม ที่ดำเนินไปภายใต้ระบบความ

สัมพันธ์ทั้งแนวตั้งและแนวนนอน
4 การเรียนรู้เชิงพลวัต เป็นการเรียนรู้และปรับตัว เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง เป็นปึกแผ่น เพื่อสร้างพื้นที่ทางสังคม

ดังนั้นความเป็นชุมชนท้องถิ่น ก็คือ ความรู้สึกร่วมและกระบวนการของกลุ่มคนที่มีความเกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ สิทธิอำนาจใน

การจัดการ การปรับตัว และกระบวนการเรียนรู้ในพื้นที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของคนในท้องถิ่น ซึ่งเป็น

ไปภายใต้ระบบความสำพันธ์ที่เป็นแนวตั้งและแนวนอน


ลักษณะและมิติของชุมชนท้องถิ่น
1 การรวมตัวของกลุ่มคน จนเป็นประชากรหรือพลเมืองของชุมชนที่มีความหลากหลาย มีการเปลี่ยนแปลงด้านเชื้อ

ชาติ ศาสนาและความพร้อมหรือลักษณะของกิจกรรมที่สนใจร่วมกัน
2 การรวมตัวของกลุ่มที่อาศัยพื้นที่มีอาณาเขตบริเวณหรือที่ตั้ง อาจเป็นขอบเขตเชิงนิเวศ เป็นพื้นที่ตามธรรมชาติ

ของชุมชนนั้นๆ หรือเป็นพื้นที่ๆมนุษย์สร้างขึ้น
3 สมาชิกในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เป็นดั่งญาติ หรือครอบครัวเดียวกัน ซึ่งอาจเป็นลักษณะโดยตรงหรืออ้อม
4 มีความผูกพันมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ ทุกคน มีความรักและความหวงแหนในชุมชน เปิดโอกาสมีส่วนร่วมในเรื่อง

ต่างๆ แบบประชาธิปไตย
5 สมาชิกหรือชุมชน มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกัน เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและแก้ปัญหาท้องถิ่น
6 สมาชิกมีจิตสำนึกต่อสาธารณะ มีการทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน มีการรับรู้ ตัดสินใจและการปฏิบัติ

ร่วมกันด้วยจิตสำนึกของความเป็นพลเมืองอย่างต่อเนื่อง
7 มีลักษณะการจัดระเบียบของชุมชน มีระบบการจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ มีแบบแผน
8 มีการติดต่อสื่อสารและมีเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

ดังนั้น ดังที่กล่าวมาแล้ว ลักษณะชุมชนเหล่านี้ จะต้องมีองค์ประกอบที่เหมือนกันคือ กลุ่มคน สถานที่หรืออาณาบริเวณ ความ

สนใจทางสังคม การปฏิบัติหรือการกระทำต่อกันทางสังคม ความสัมพันธ์ทางสังคม องค์กรทางสังคม และผลประโยชน์

ไอ๊ฟ์ (Jim Lfe) ได้อธิบายลักษณะของชุมชนท้องถิ่นในฐานะเป็นองค์กรหรือหน่วยงานทางสังคม มีองค์ประกอบที่เกี่ยวเนื่อง

และสัมพันธ์กัน 5 ประการคือ มีขนาดไม่เกินความสามารถมนุษย์ มีความเป็นตัวคนและความเป็นเจ้าของ มีพันธะหน้าที่

มีความใกล้ชิดสนิทสนมแบบสังคมชนบท มีวัฒนธรรม
 

อานันท์ กาญจนพันธ์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะความเป็นชุมชนท้องถิ่นขากตัวอย่างท้องถิ่นในล้านนาของไทยมีความ

สัมพันธ์ทางสังคม 5 ประการคือ มีอุดมการณ์และอำนาจทางความคิด มีวัฒนธรรม มีอำนาจในการจัดการทรัพยากรร่วมกัน มี

ภูมิปัญญา มีองค์กรและเครือข่ายของความสัมพันธ์

                จากสาระที่เป็นแนวคิดดังกล่าวข้างต้น จะเห็นว่าลักษณะความเป็นชุมชนมีหลายมิติ ไม่ตายตัว เปลี่ยนแปลงไป

ตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม ส่วนการให้ความหมายเกี่ยวกับชุมชนท้องถิ่น ก็เพื่อเป็นสื่อในการอธิบายความสัมพันธ์ทาง

สังคม หรือเป็นการจัดระบบความสัมพันธ์ใหม่ ที่เกิดขึ้นทั้งกับภายในและภายนอกชุมชน

 

 
[ Back ]