บทนำ

พิมพ์

 

วิทยุ
ภาคประชาชน
บทนำ
แนวคิดเกี่ยวกับวิทยุภาคประชาชนได้เกิดขึ้นมานาน เห็นได้จากประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.. 1948 (Universal Declaration of Human Rights of 1948)ได้มีการขยายแนวคิดและการพัฒนาเรื่องสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารของประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสื่อสารมากยิ่งขึ้น และในการประชุมหลายครั้งที่จัดโดย UNESCO ในช่วงทศวรรษ 1960-1970ได้หยิบยกเรื่องกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงภาคประชาชนมาเป็นหัวข้อในการสัมมนา
กรอบแนวคิดในการดำเนินการสถานีวิทยุภาคประชาชนมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น
o      ด้านเทคนิคการส่งสัญญาณกระจายเสียง
o      ด้านการมีส่วนร่วมในการผลิตรายการ
o      การร่วมกำหนดกรอบนโยบายและแผนในการดำเนินงานของสถานี
 
ปรัชญาวิทยุชุมชน
       ปรัชญาวิทยุชุมชนที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปนั้นสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย ได้แก่
o      ของชุมชน ชุมชนเป็นเจ้าของร่วมกันโดยตรง
o      โดยชุมชน ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และดำเนินงาน
o      เพื่อชุมชน มีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ของชุมชน
 
จากหลักปรัชญาของวิทยุชุมชน องค์การยูเนสโกจึงได้กำหนดหลักการของวิทยุชุมชนไว้ดังนี้คือ
(1)    ต้องให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยง่าย (accessibility) ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงในแง่ผู้ฟัง ผู้ร่วมผลิตรายการ ผู้ให้ข้อเสนอแนะ ผู้บริหารจัดการ ฯลฯ
(2)    ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในรูปแบบต่าง ๆ (participation)
(3)    ต้องเป็นวิทยุที่ประชาชนมีการบริหารจัดการด้วยตนเอง (self-management) คือ แนวคิดเรื่องการบริหารจัดการ “โดย” ชุมชนที่กล่าวไปข้างต้น
 
แนวคิดการดำเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงภาคประชาชนในระดับนานาชาติ
จากการรวบรวมแนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงภาคประชาชนโดย สิขเรศ ศิรากานต์ (๒๕๔๓) พบว่าแนวคิดการดำเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงภาคประชาชนในระดับนานาชาติ ครอบคลุมความหมายในประเด็นต่างๆดังนี้ คือ
o            ตอบสนองความต้องการและให้บริการด้านข้อมูลข่าวสารแก่ชุมชน
o            อาจมีชื่อเรียกและเทคนิคการส่งสัญญาณกระจายเสียงที่แตกต่างกัน แต่มีจุดยืนด้านหลักการร่วมกันคือ เป็นการดำเนินการโดยประชาชน และเพื่อประชาชน
o            มุ่งสร้างจิตสำนึกร่วมกันของประชาชนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน มีความสนใจและแสวงหาหนทางแก้ปัญหาต่างๆร่วมกัน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
o            มิได้มีเป้าหมายเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางการเงิน แต่มีเป้าหมายเพื่อสร้างสังคมร่วมกันของประชาชน
o            เป็นการกระทำที่ไม่หวังผลกำไร ประชาชนเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
o            มีรูปแบบหรือลักษณะที่เกิดขึ้นจากวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น มุ่งแสวงหาความยุติธรรม ผสานความร่วมมือในสาธารณะประโยชน์ เป็นสื่อกลางเพื่อเจรจาตกลงร่วมกันของประชาชน
o            สะท้อนภาพวิถีชีวิตของผู้ฟังในแต่ละท้องถิ่น การนำเสนอรายการต่างๆตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเปิดกว้าง ส่งเสริมความเป็นอยู่อย่างเหมาะสมและพอเพียง
o            หลักการสำคัญในการดำเนินการ คือ ความเป็นอิสระ มีเสรีภาพ เป็นของประชาชน ภายใต้หลักการประชาธิปไตย
 
รูปแบบการดำเนินการสถานีวิทยุกระจายเสียงภาคประชาชน/วิทยุชุมชนในต่างประเทศ
 
สถานีวิทยุชุมชนในยุโรป
สาเหตุที่ทำให้หลายประเทศในยุโรปต้องปรับปรุงกิจการสื่อสาร คือ
o      กลุ่มการเมืองและประชาชนในสังคมต่างเรียกร้องสิทธิของตนในฐานะพลเมืองเพื่อการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
o      การกระจายอำนาจของโครงสร้างกิจการกระจายเสียง
o      ข้อถกเถียงประเด็นการใชัสื่อกระจายเสียงเป็นเครื่องมือการสนับสนุนนโยบายต่างๆของรัฐบาล
o      รัฐเริ่มตระหนักถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการครอบครองแต่ฝ่ายเดียวสู่การกระจายอำนาจให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
จากสาเหตุดังกล่าวหลายประเทศในยุโรปได้มีการปรับโครงสร้างกิจการกระจายเสียงภายในประเทศในช่วงทศวรรษที่ 1970โดยปรับเปลี่ยนนโยบายและกฎหมายทางด้านการสื่อสาร
ตัวอย่างสถานีวิทยุชุมชนในเดนมาร์ค
รัฐบาลเดนมาร์คมีนโยบายและโครงการที่สนับสนุนกิจการสถานีวิทยุชุมชนอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง ในระยะเริ่มต้นรัฐบาลมีโครงการสนับสนุนกิจการสถานีวิทยุชุมชน คือ Public Access Radio Project”เป็นโครงการที่ช่วยจัดหาและสนับสนุนทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นในด้านการดำเนินการสถานี โดยในเบื้องต้นใช้เครื่องส่งที่มีกำลังส่งเพียง ๑๐ วัตต์ รัฐบาลได้สนับสนุนกิจการอย่างจริงจังตลอดมาและในที่สุดได้ออกกฎหมายรับรองกิจการสถานีวิทยุชุมชนในปี 1985
ลักษณะของผู้ดำเนินการวิทยุชุมชนในเดนมาร์ค ได้แก่
o      สมาคมวิทยุชุมชน
o      องค์กรหรือชุมชนทางศาสนา
o      กิจการหนังสือพิมพ์
o      สหภาพแรงงาน
o      โรงเรียนและมหาวิทยาลัย
o      กลุ่มที่มีความสนใจร่วมกัน
o      พรรคการเมือง
สถานีวิทยุที่มีองค์กรสนับสนุนเป็นเจ้าของ ได้แก่ องค์กรศาสนา สหภาพแรงงานกิจการหนังสือพิมพ์
 
สถานีวิทยุชุมชนในสหรัฐอเมริกา
ในประเทศสหรัฐอเมริกา “วิทยุชุมชน” เป็นสื่อที่มีบทบาทและช่วยส่งเสริมสิทธิทางด้านการสื่อสารในระบอบประชาธิปไตย เกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.. ๑๙๔๙ ปัจจุบันมีสถานีวิทยุชุมชนกระจายอยู่ทั่วไปในทุกรัฐ ซึ่งมีทั้งที่ตั้งอยู่ในชุมชนเล็กๆพื้นที่ห่างไกล และอยู่ในเมืองใหญ่ โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเป็นหลัก และในปัจจุบันวิทยุชุมชนในสหรัฐอเมริกาได้มีการขยายขอบเขตการแพร่สัญญาณการกระจายเสียงโดยอาศัยเทคโนโลยีทันสมัย เช่น การสร้างเครือข่ายกิจการวิทยุชุมชนในระหว่างรัฐ การเผยแพร่สัญญาณผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ขอบเขตในการบริการจะมีความแตกต่างกัน และไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประชาชนผู้เป็นกลุ่มเป้าหมายในการบริการเป็นหลัก กลุ่มชุมชนผู้ดำเนินการมีลักษณะที่หลากหลาย เช่น ดำเนินการโดยชุมชนท้องถิ่น สถานีวิทยุของหน่วยงานอง์กรภาคประชาชนต่างๆ สถานีวิทยุชุมชนที่ร่วมกันดำเนินการมากกว่า ๑ ชุมชน สิ่งที่น่าสนใจคือ สถานีวิทยุชุมชนของสหรัฐอเมริกา มีมิติของคำจำกัดความ ความเป็นชุมชน มากกว่าการพิจารณาแค่เพียง ลักษณะทางภูมิศาสตร์เท่านั้น
 
 
สถานีวิทยุชุมชนในออสเตรเลีย
ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศผู้นำทางด้านกิจการวิทยุชุมชนของโลก สถานีวิทยุชุมชนที่ดำเนินการโดยภาคประชาชนมีประมาณ ๑๙๐ แห่ง ตั้งอยู่ตามเมืองใหญ่ ในเขตชานเมือง ในชนบท เขตพื้นที่ของชนพื้นเมือง เป็นต้น การนำเสนอ และการกำหนดรูปแบบเนื้อหารายการขึ้นอยู่กับกลุ่มประชาชนเป้าหมายเป็นหลัก เช่นรายการที่นำเสนอเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาวอะบอริจิน รายการเพื่อการเผยแพร่คริสต์ศาสนา รายการเพื่อบริการด้านการศึกษาสำหรับผู้พิการทางสายตา เป็นต้น โดยมุ่งตอบสนองความต้องการหรือความจำเป็นของแต่ละชุมชนเป็นหลัก ดำเนินการโดยไม่มุ่งหวังผลกำไรและประโยชน์ทางการค้า ส่วนใหญ่ไม่มีโฆษณา ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผู้ฟังของสถานี ส่วนใหญ่ใช้รูปแบบการบริหารโดยคณะกรรมการชุมชนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในชุมชนนั้นๆหรือคณะกรรมการบริหารอาจจะมาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งจากกลุ่มสมาชิกขององค์กรหรือสถาบันเหล่านั้น
          ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กิจการสถานีวิทยุชุมชนของออสเตรเลียมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คือ การมีกรอบนโยบายการดำเนินกิจการกระจายเสียงในระดับชาติที่ชัดเจนที่ถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติกิจการกระจายเสียง ค.. ๑๙๙๒ และกรอบจรรยาบรรณของการดำเนินกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน
 
สถานีวิทยุชุมชนในเอเชีย
ระบบโครงสร้างกิจการกระจายเสียงถูกกำหนดให้เป็นลักษณะรวมศูนย์ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาแนวคิดในการดำเนินกิจการวิทยุชุมชนในเอเชีย ในประเด็นต่อไปนี้
o      ผู้มีอำนาจโดยเฉพาะภาครัฐ วิตกกังวลว่าถ้ายอมให้กิจการวิทยุชุมชนเกิดขึ้น รัฐจะสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการ และควบคุมกิจการกระจายเสียง
o      นักการเมืองมีทรรศนะที่มีอคติต่อวิทยุชุมชน คือ เป็นสื่อในการสร้างฐานเสียงและขยายอำนาจให้กับนักการเมืองในระดับท้องถิ่น นักการเมืองในระดับชาติจึงไม่ให้การสนับสนุน
o      สถานีวิทยุชุมชนเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อหรือเป็นสื่อเพื่อโจมตีรัฐบาล
o      วิทยุชุมชนสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้อย่างดี
พบว่าในประเทศแถบเอเชียไม่มีสถานีวิทยุที่ดำเนินการโดยภาคประชาชนอย่างเต็มรูปแบบ
 
[ Back ]