มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน

You are here: หน้าหลัก บทที่ 2 วิธีการศึกษา

บทที่ 2 วิธีการศึกษา

อีเมล พิมพ์ PDF

              การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey research) เกี่ยวกับพฤติกรรม ข้อคิดเห็นและผลกระทบที่เกิดจาก พ.ร.บ. การจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ และโทรคมนาคม ปี พ.ศ. 2552

 
1. การออกแบบการวิจัย
เป็นการศึกษาเชิงสำรวจโดยกำหนดช่วงระยะเวลารวบรวมข้อมูล ในช่วงเดือน สิงหาคม – ตุลาคม พ.ศ. 2552 โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่รับฟังสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน ตามภูมิภาคต่างๆ ให้ครอบคลุมมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ได้จำนวนจังหวัดที่เป็นที่ตั้งสถานีทุกจังหวัด ทั่วประเทศจำนวน 55 จังหวัด
 
2. ประชากรที่ศึกษา ในการศึกษาครั้งนี้ไม่ทราบจำนวนของประชากรที่รับฟังทั้งหมดได้ ซึ่งอยู่กระจาย อยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศ
 
3. ขนาดของตัวอย่าง ใช้สูตรไม่ทราบจำนวนประชากร 
               n       =       Z 2
                              4E2
               n              คือ           ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
               Z              คือ           ค่าสถิติที่วัดระดับความเชื่อมั่นที่กำหนดไว้ (เท่ากับ 1.96)
               E              คือ           ค่าความคาดเคลื่อนในการศึกษา (เท่ากับ 0.05 )
ทำการคำนวณหาค่า n ดังนี้
Z              =             1. 96
E              =              0.05
n              =              (1.96/0.05)2 / 4
                ~              400
เพื่อลดความคลาดเคลื่อนของข้อมูลให้มากที่สุดได้ตัวอย่างใกล้เคียงประชากรมากที่สุดจึงเก็บข้อมูลทั้งหมด 577 ชุด
 
4. วิธีการสุ่มตัวอย่าง
ในการศึกษาครั้งนี้ทำการสุ่มตัวอย่างตามพื้นที่ให้ครอบคลุมมากที่สุดได้จำนวน 55 จังหวัด และแต่ละจังหวัดใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-probability Sampling) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกของผู้เก็บข้อมูล (Convenience Sampling ) ที่ผู้รับการสัมภาษณ์ยินดีให้ข้อมูล ตามจังหวัดที่สุ่มตัวอย่างได้ข้างต้น
 
5. หน่วยการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) 
คือ ผู้แทนของครอบครัวที่รับฟังสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชนในแต่ละจังหวัด
 
6. การเก็บรวบรวมข้อมูล
 การศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) และข้อมูลทุติยภูมิ ( Secondary data) โดยแบ่งออกดังนี้
6.1 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) เกิดจากการสังเกต และ จากแบบสัมภาษณ์
6.2 ข้อมูลทุติยภูมิ ( Secondary data) โดยการหาข้อมูลจากเอกสาร บทความ เพื่อเป็น
ข้อมูลพื้นฐานแนวทางในการศึกษา
 
7. การวิเคราะห์ข้อมูล
                                ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ SPSS/PC (Stattistical Package for Social Science /Personal Computerplus) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างและหาค่าสถิติ ร้อยละ ความถี่ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลประกอบคำอธิบายเชิงเหตุผลรวมถึงข้อมูลเชิงคุณภาพ

 

 

สารบัญ