มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน

You are here: หน้าหลัก การสร้างเครื่องมือในการวิจัย
อีเมล พิมพ์ PDF

2. การสร้างเครื่องมือในการวิจัย

คณะผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือขึ้นเอง โดยมีวิธีการจัดสร้างเครื่องมือ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

2.1 ได้ศึกษาเอกสารตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลในการสร้างเครื่องมือ

2.2 ร่างแบบสอบถามเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบ แก้ไข แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขตาม

ข้อเสนอแนะ

2.3 เสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมจนถูกต้องสมบูรณ์ แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์

 3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ แบบสอบถาม (Questionnair) ที่สร้างขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าและดัดแปลงจากเอกสารและงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีความสอดคล้องกับแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ

ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 5 ข้อ

ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับฟังรายการวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM 103.25 MHz (บ้านตาด) ของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 4 ข้อ

ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในการรับฟังรายการวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM 103.25 MHz (บ้านตาด) ของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยแยกเป็น

  1. ด้านเทคนิค จำนวน 9 ข้อ
  2. ด้านผู้ประกาศ จำนวน 10 ข้อ
  3. ด้านการ ผลิตรายการ จำนวน 10 ข้อ

    เกณฑ์การให้คะแนนเพื่อการวิเคราะห์ จากคำตอบตอนที่ 3 ให้ค่าคะแนนดังต่อไปนี้

    5 หมายถึง ระดับความพึงพอใจมากที่สุด

    4 หมายถึง ระดับความพึงพอใจมาก

    3 หมายถึง ระดับความพึงพอใจปานกลาง

    2 หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อย

    1 หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด

  4. ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ จำนวน 4 ข้อ

ตอนที่ 4 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ต่อรายการวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM 103.25 MHz (บ้านตาด) เป็นแบบคำถามปลายเปิด จำนวน 5 ข้อ

 

 

สารบัญ