มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน

You are here: หน้าหลัก ความเป็นมาและความสำคัญ
อีเมล พิมพ์ PDF

บทที่ 1

บทนำ

 

 1. ความเป็นมาและความสำคัญ

                 ในปัจจุบัน สื่อวิทยุกระจายเสียงนับว่ามีความจำเป็นและมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เนื่องจากสื่อวิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อที่มีความแพร่หลายกว้างขวางอย่างรวดเร็ว นับเป็นสื่อหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการสื่อสารไปยังประชาชน เนื่องจากเข้าถึงประชาชนได้เป็นอย่างดี ประชาชนทุกฐานะสามารถที่จะซื้อหาเป็นเจ้าของได้ อีกทั้งวิทยุยังให้ทั้งความรู้ ข่าวสารและความบันเทิง โดยที่ประชาชนมีโอกาสที่จะได้รับข่าวสารหรือสิ่งอื่นใดที่จะนำมาให้ได้รู้ด้วยความรวดเร็ว เพื่อให้เกิดประโยชน์ส่วนรวมกับประชาชนและประเทศชาติการ

การสื่อสารมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและประสบการณ์เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึง พระราชบัญญัติวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498 จึงได้ตราขึ้นในปีที่สถานีโทรทัศน์แห่งแรกออกอากาศ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2498 แต่ใช้ในการควบคุมกิจการด้านวิทยุและโทรทัศน์ควบคู่กันไป นอกจากนี้มีการตราพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ขึ้นในปีเดียวกันเพื่อให้กรมไปรษณีย์โทรเลขทำหน้าที่ในด้านการบริหารและจัดสรรความถี่วิทยุ มาใช้ในกิจการทางวิทยุโทรทัศน์ หลักการสำคัญของพระราชบัญญัติวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498 ต้องการจะควบคุมสื่อวิทยุ โทรทัศน์ใน 3 ด้าน คือ


1.ด้านการให้บริการซึ่งมุ่งหมายให้รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการ

2.ด้านการค้าเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ต้องมาขอใบอนุญาตประกอบการ

3.ด้านการมีเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ประชาชนต้องมีใบอนุญาตแต่ต่อมามีการยกเลิกในพระราชบัญญัติวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2498 ในปี2520ภายหลังวิกฤติการณ์การเมือง เดือนพฤษภาคม รัฐบาลได้ออกกฎระเบียบว่าด้วยวิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมสาระสำคัญของระเบียบว่าด้วยวิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติวิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 ดังนี้

1.นิยามคำศัพท์ว่าสถานีว่า หมายถึง สถานีวิทยุหรือโทรทัศน์ที่ส่วนราชการหรือ

รัฐวิสาหกิจตั้งขึ้นมาและได้รับอนุญาตให้ดำเนินการจาก กกช. ทั้งนี้ไม่ว่าส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจจะมอบหรืออนุญาตให้บุคคลอื่นไปดำเนินการ

2.ให้มีคณะกรรมการกิจการวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติ (กกช.) ประกอบไปด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธาน และมีกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนจากหน่วยงาน (ที่เป็นคลื่นความถี่) 8 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิเทศน์ศาสตร์ 3 คน ผู้แทนพระองค์เอกชนเพื่อสาธารณประโยชน์ 5 คน และอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เป็นกรรมการและเลขานุการ

3.ยกเลิกการตรวจพิจารณาเนื้อหารายการโดยให้คณะกรรมการของสถานีตรวจพิจารณากันเอง

4.ข้อกำหนดเรื่องเวลาในการโฆษณาให้ กกช. กำหนดเวลาสำหรับโฆษณาทางสถานี

วิทยุและโทรทัศน์ โฆษณาไม่เกิน 10 นาที

5. บทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน ระเบียบมี 5 ระดับ คือ

     1.ให้สถานีชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร

     2.ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร

     3.สั่งระงับรายการที่ฝ่าฝืน

     4.เพิกถอนใบอนุญาต

     5.สั่งให้ปิดสถานี

แต่ระเบียบว่าด้วยการวิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ. 2534 ก็ยังไม่สามารถกำกับดูแลให้สื่อวิทยุโทรทัศน์ดำเนินรายการอย่างมีประสิทธิภาพและเสนอข่าวที่เป็นจริงและรายการที่มีคุณภาพได้

ปัจจุบันสถานีวิทยุกระจายเสียงมีมากมายหลายแห่ง และส่วนมากเอกชนจะเข้าไปเช่าเวลาเพื่อทำการออกรายการต่างๆ โดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน ที่พบยังเป็นของส่วนราชการก็มีเพียงสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ของกรมประชาสัมพันธ์ ที่ยังความเป็นรูปแบบเดิมที่ทางรัฐบาลยังมีส่วนเข้ามาดูแลควบคุมเท่านั้น

จังหวัดอุดรธานี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจทางประวัติศาสตร์ มีการประสมประสานของกลุ่มชนที่มีประวัติความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม เช่นทยอีสาน ลาว เวียดนาม จีน ภูไท ฯลฯ ในกลุ่มชนต่างวัฒนธรรมเหล่านี้มีกลุ่มอายุที่แตกต่างกัน มีการศึกษาที่แตกต่างกัน มีเพศที่ต่างกัน มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน และมีพฤติกรรมในการรับฟังรายการวิทยุแตกต่างกัน จากเหตุผลดังกล่าว คณะผู้วิจัยในฐานะที่เป็นนักศึกษาโปรแกรมวิชานิเทศน์ศาสตร์ (ประชาสัมพันธ์) และเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM 103.25 MHz (บ้านตาด) มีความสนใจที่จะทำการวิจัยพฤติกรรมการรับฟังรายการจากสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM 103.25 MHz (บ้านตาด) ของประชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตรายการวิทยุเกี่ยวกับธรรมะ ซึ่งผลการศึกษาค้นคว้าที่ได้รับจะสามารถนำไปเป็นแนวทางเพื่อเป็นข้อสนเทศในการจัดรายการวิทยุเกี่ยวกับธรรมะสำหรับประชาชนทั่วๆไป โดยนำรูปแบบรายการวิทยุเสียงธรรมที่มีอยู่และจัดไว้ในแผนผังรายการของสถานีมาวิจัย ผลการวิจัยจะนำไปพิจารณาประกอบการผลิตรายการ ให้สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของประชาชนให้ได้รับฟังรายการที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพของคนที่สนใจใฝ่ในธรรมอีกด้านหนึ่ง


 

สารบัญ