มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน

You are here:

วิทยุภาคประชาชนในประเทศไทย

อีเมล พิมพ์ PDF

 

วิทยุภาคประชาชนในประเทศไทย
 
          วิทยุภาคประชาชน (People’s Media)หรือวิทยุชุมชน (Community Radio)ในประเทศไทยเริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงที่มีกระบวนการปฏิรูปการเมืองระหว่างปี พ..๒๕๓๙-๒๕๔ ภายหลังจากที่ภาครัฐและภาคธุรกิจได้ครอบครองสื่ออย่างครบวงจร ข้อมูลข่าวสารจึงถูกปกปิด และสื่อถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ตลอดจนการสร้างกระแสทางสังคม โฆษณาชวนเชื่อ และโฆษณาขายสินค้า โดยไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานวิทยุอย่างอิสระ เท่ากับเป็นการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารและการแสดงความคิดเห็นของประชาชน
          เมื่อมีกระแสการปฏิรูปการเมืองภายหลังเหตุการณ์ทางการเมืองในปี พ.. ๒๕๓๕ จึงทำให้เกิดแนวคิดการปฏิรูปสื่ออย่างจริงจัง นำไปสู่การกำหนดหลักการด้านสิทธิเสรีภาพด้านการสื่อสารในรัฐธรรมนูญปี พ..๒๕๔๐ มาตรา ๔๐ ดังนี้
o            การกำหนดให้คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ
o            การกำหนดให้มีองค์กรอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม โดยการดำเนินการต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ
o            การกำหนดหลักประกันสิทธิเสรีภาพการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายของประชาชน โดยให้มีมาตรการป้องกันการควบรวม การครองสิทธิข้ามสื่อ หรือการครอบงำสื่อมวลชน
 
แม้ว่าต่อมาจะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี พ..๒๕๕๐ แต่ยังคงสาระดังกล่าวไว้ในมาตรา ๔๗ เป็นที่มาของการประกาศใช้พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ..๒๕๔๓ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ..๒๕๕๑ และประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติในวาระต่างๆ


การเปรียบเทียบวิทยุ “ภาคประชาชน” กับ “ภาครัฐ” และ “ภาคธุรกิจ”
(พิจารณาจาก พ...องค์กรจัดสรรคลื่นฯ ๒๕๔๓, ...ประกอบกิจการฯ ๒๕๕๑ และ ประกาศ กทช. ๒๕๕๒)
   
 
ภาครัฐ
 
ภาคธุรกิจ
 
ภาคประชาชน (ชุมชน)
 
) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
มีหลักประกันแน่นอน
เพราะมีบทเฉพาะกาลคุ้มครองคลื่นไว้ชัดเจน
 
ระบุชัดเจน
เปิดโอกาสภาคธุรกิจเต็มที่ในทุกระดับ
คลุมเครือไม่ระบุชัดเจน
ที่ระบุไว้ก็จำกัดและลิดรอนสิทธิภาคประชาชน
) พื้นที่การให้บริการ
พื้นที่กระจายเสียงทุกระดับ
. ทั่วประเทศ
. กลุ่มจังหวัด
. ภายในจังหวัด
พื้นที่กระจายเสียง
. ทั่วประเทศ
. กลุ่มจังหวัด
. ภายในจังหวัด
จำกัดพื้นที่กระจายเสียง
. ชุมชนเมืองใหญ่ (ภายใน ๓ กิโลเมตร)
. ชุมชนเมือง (ภายใน ๕ กิโลเมตร)
. ชุมชนนอกเขตเมือง(ภายใน ๑๕ กิโลเมตร)
. ชุมชนลักษณะเฉพาะ (ไม่ระบุชัดเจน)
 
) ใบอนุญาต
ผู้รับใบอนุญาตรายเดียวสามารถตั้งสถานีลูกข่ายได้หลายสถานีเป็นเครือข่ายครอบคลุมหลายระดับ
. ระดับชาติ
. ระดับภูมิภาค
. ระดับท้องถิ่น
 
ผู้รับใบอนุญาตรายเดียวสามารถตั้งสถานีลูกข่ายได้หลายสถานีเป็นเครือข่ายครอบคลุมหลายระดับ
. ระดับชาติ
. ระดับภูมิภาค
. ระดับท้องถิ่น
ไม่ระบุให้ชัดเจนว่าผู้รับใบอนุญาตรายเดียวสามารถตั้งสถานีลูกข่ายได้หรือไม่ หรือจะใช้กำลังส่งสูงได้หรือไม่หากประชาชนนอกรัศมีกระจายเสียงเกิน ๑๕ กิโลเมตรต้องการรับฟัง เสมือนว่าไม่ต้องการให้ภาคประชาชนใหญ่ขึ้นหรือเป็นเครือข่าย
 
) มาตรฐานทางเทคนิค
ใช้กำลังส่งสูง
 
ใช้กำลังส่งสูง
ตามระดับของใบอนุญาต
จำกัดกำลังส่ง(ต่ำมาก)
ไม่เกิน ๒๐๐ วัตต์
) ผังรายการ
สารประโยชน์ต่อสาธารณะ
ไม่น้อยกว่า ๗๐%
 
สารประโยชน์ต่อสาธารณะ
ไม่น้อยกว่า ๒๕ %
(ส่วนใหญ่บันเทิงหรือมอมเมาเพื่อจูงใจ)
 
สารประโยชน์ต่อชุมชน
ไม่น้อยกว่า ๗๐%
(ส่วนใหญ่เป็นสารประโยชน์)
) วัตถุประสงค์
เพื่อประโยชน์สาธารณะ
โดยคำนึงหน้าที่ตามกฎหมายและความจำเป็นภาครัฐ
ระบุความรับผิดชอบต่อสังคมไว้เพียงเล็กน้อย
(สัดส่วนสารประโยชน์จึงน้อยมาก
คำนึงผลกำไรทางธุรกิจเป็นหลัก)
 
เพื่อประโยชน์สาธารณะของชุมชนเป็นหลัก
) กลุ่มเป้าหมาย
ประชาชนทั่วประเทศทุกภาคส่วน
เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารสาธารณะ
ที่ประชาชนควรรับรู้
ไม่ระบุให้ชัดเจน
(จึงขึ้นอยู่กับสินค้าที่สนับสนุนรายการ
และลักษณะของรายการ (Concept) เป็นหลัก)
 
ต้องสนองความต้องการที่หลากหลาย
ของชุมชน
) โฆษณา
ห้ามโฆษณา
โฆษณาได้
 
ห้ามโฆษณา
) แหล่งเงินทุน
งบประมาณแผ่นดิน หรือ โดยโฆษณาหรือเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับงานหรือกิจการที่ทำประโยชน์สาธารณะ
เงินค่าหุ้น เงินกู้ ค่าโฆษณา
(ดูเรทติ้งรายการเป็นสำคัญ
ทั้งที่อาจมีเนื้อหาที่เป็นโทษ)
 
เงินบริจาค
 
๑๐) เจ้าของ
มูลนิธิ สมาคม นิติบุคคล หน่วยงานของรัฐ
บุคคลธรรมดา นิติบุคคล
(ธุรกิจเป็นเจ้าของ)
 
กลุ่มคน มูลนิธิ สมาคม นิติบุคคล
(ประชาชนร่วมกันเป็นเจ้าของ)
๑๑) การบริหารจัดการสถานี
ข้าราชการ พนักงานของรัฐ
ดำเนินการโดยนักธุรกิจหรือตัวแทน
โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
 
๑๒) ค่าธรรมเนียม
ได้รับการลดหย่อน
โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
 
ไม่เกินร้อยละ ๒ ของรายได้
ไม่เกินร้อยละ ๒ ของเงินบริจาค
(อาจได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อน)
๑๓) ตัวอย่างสถานี
สถานีวิทยุ
ทหาร, ตำรวจ, การศึกษา, รัฐสภา,
กรมประชาสัมพันธ์, อบจ., อบต, ฯลฯ
สถานีวิทยุ
...., ช่อง ๓, แกรมมี่, อาร์เอส,
ลูกทุ่งไทย, ลูกทุ่งเน็ตเวิร์ก ฯลฯ
 
สถานีวิทยุ
เสียงธรรมฯ, สังฆทาน, รณรงค์ต่อต้านยาเสพติด,
สิ่งแวดล้อม, ต่อต้านเอดส์ ฯลฯ
 
 
สรุป
 
ได้เปรียบภาคธุรกิจและภาคประชาชนแทบทุกกรณี
เนื่องจากต้องเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อประโยชน์สาธารณะของประชาชนทั่วประเทศ
 
 
เงื่อนไขน้อยค่อนข้างอิสระ
ได้เปรียบภาคประชาชนแทบทุกกรณี
ทั้งที่รายการเน้นบันเทิงและอาจมอมเมา
 
เงื่อนไขและข้อจำกัดมาก เสมือนว่าไม่ต้องการให้ภาคประชาชนเข้มแข็งและเติบโตเป็นเครือข่าย
ทั้งที่รายการเป็นประโยชน์ต่อสังคม
 


คำนิยามของชุมชน(Community)  
 

 
ที่มา
 
ชุมชน” หมายความว่า
 
ประกาศ กทช.
 
กลุ่มประชาชนที่มีพื้นที่อาศัยในแหล่งเดียวกัน ไม่ว่าจะในเมืองหรือในชนบท และให้หมายความรวมถึงกลุ่มประชาชนที่มีความสนใจร่วมกันและอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกันหรือสื่อสารถึงกันได้ โดยมีผลประโยชน์ด้านสังคมและวัฒนธรรมเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน ทำกิจกรรมอันชอบด้วยกฎหมายและศีลธรรมร่วมกัน มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการจัดการและการแสดงเจตนาแทนกลุ่มได้
พระราชกฤษฎีกา
จัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
(องค์การมหาชน)
.. ๒๕๔๓
 
กลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวพันกัน และมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างเป็นปกติและต่อเนื่อง โดยเหตุที่อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกันหรือมีอาชีพเดียวกัน หรือประกอบกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน หรือมีวัฒนธรรมความเชื่อ หรือความสนใจร่วมกัน
 
 
พระราชบัญญัติ
สภาองค์กรชุมชน
.. ๒๕๕๑
 
 
กลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันโดยมีผลประโยชน์และวัตถุประสงค์ร่วมกันเพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนกันหรือทำกิจกรรมอันชอบด้วยกฎหมายและศีลธรรมร่วมกันหรือดำเนินการอื่นอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสมาชิกมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีระบบบริหารจัดการและการแสดงเจตนาแทนกลุ่มได้
 
พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
(พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ..๒๕๔๙)
 
 
ผู้คนจำนวนหนึ่งซึ่งมีขนบประเพณี หรือผลประโยชน์ร่วมกันในความหมายนี้ บุคคลที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนไม่จำเป็นต้องรวมอยู่บนพื้นที่เดียวกัน อาจอยู่กันอย่างกระจัดกระจายหรือห่างไกลกันก็ได้ เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ ชุมชนนักวิชาการ
UNDP. Changing Policy and Practice from Below: Community Experiences in Poverty Reduction. A. Krishna (ed.).
ชุมชน” (Community) คือ ดินแดนแห่งการรวมตัวทางสังคมที่เป็น การสมัครใจก่อขึ้นเองโดยประชาชน ส่วนใหญ่แล้วสนับสนุนตนเองเป็นเอกเทศ จากรัฐและอยู่ในกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น ชุมชน ประกอบด้วยองค์กรต่างๆ ทั้งทางการและไม่เป็นทางการ รวมถึง กลุ่มความสนใจ (ชมรมกลุ่มวัฒนธรรม และศาสนา สมาคมอนุรักษ์หรือพัฒนาสังคม/ กลุ่ม
 

 
ลักษณะของความเป็นชุมชน
.ปาริชาติ วลัยเสถียร แบ่งความเป็นชุมชน ลักษณะ
. ชุมชนหมู่บ้าน
- ชุมชนหมู่บ้านในฐานะหน่วยพื้นฐานแห่งการพึ่งตนเอง ชุมชนไม่ได้อยู่อย่างเอกเทศ
โดยไม่มีความสัมพันธ์กับหน่วยอื่น ชุมชนจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ของผู้คนที่รู้จัก
กันอย่างใกล้ชิด มีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่นั้นร่วมกัน และมีกิจกรรมเพื่อการดำรงชีวิต ระบบ
ความสัมพันธ์เป็นแบบครอบครัว เครือญาติ มีการแลกเปลี่ยน การพึ่งพา รวมทั้งความขัดแย้ง
- ชุมชนหมู่บ้านในฐานะหน่วยทางการปกครอง เป็นการกระจุกตัวของบ้านหลายๆ บ้าน
หรือหลายครัวเรือน ในพื้นที่แห่งหนึ่งหรือในระบบนิเวศแห่งหนึ่งและเป็นหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุดที่ทางราชการกำหนดให้เป็น “หมู่บ้าน“ ซึ่งมีความหมายเป็นหน่วยทางการปกครองของราชการ ในความจริงความเป็นชุมชนอาจจะไม่มีในหมู่บ้านหรือดำรงซ้อนอยู่ทั้งหมดหรือบางส่วนของหมู่บ้านก็ได้
. ชุมชนในฐานะขบวนการทางสังคม (Social Movement)
- เกิดจากการวิพากษ์ระบบของภาครัฐ และภาคธุรกิจเอกชน ที่มีบทบาทชี้นำ หรือครอบงำความคิดและทิศทางการพัฒนาของสังคม โดยคนส่วนใหญ่ในสังคมมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในทิศทางและกิจกรรมสาธารณะค่อนข้างน้อย จึงเกิดการเรียกร้องและหรือต้องการอุดช่องว่าง ด้วยการส่งเสริมการมีส่วนร่วม และเสริมพลังอำนาจให้กับภาคประชาชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบาย ทิศทางการพัฒนา ในฐานะผู้กระทำ
- การรวมตัวของกลุ่มคน โดยการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางเพื่อสร้างพลังในการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สาระสำคัญอยู่ที่สำนึกเชิงอุดมการณ์ และกระบวนการในการจัดการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
- ชุมชนในฐานะขบวนการทางสังคม เป็นอุดมการณ์เชิงอำนาจ ที่เกิดจากความสำนึกของคนในสังคมต่อปัญหาสาธารณะ หรือปัญหาที่ตนเองร่วมเผชิญอยู่โดยตรง จึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือองค์กร และเครือข่าย ประกอบด้วยสมาชิกที่หลากหลาย โดยสมาชิกชุมชนไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด มีคุณลักษณะที่คล้ายกันหรือมีความเป็นแบบเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องพบปะหน้าตากันโดยตรง การติดต่อสื่อสารมีหลายรูปแบบ
 
. ชุมชนแนวมนุษยนิยม
- เป็นแนวคิดของชุมชนในเชิงอุดมคติ ซึ่งมีความคิดว่า ชุมชนต้องก่อเกิดมิตรภาพ ความเอื้ออาทร ความมั่นคงและความผูกพัน มีวัฒนธรรมประเพณีของตนเอง มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน(ซึ่งเชื่อว่าเกิดโดยธรรมชาติอยู่แล้ว)โดยรัฐไม่ค่อยเข้ามายุ่งเกี่ยวกับสมาชิกของชุมชนมากนัก
- ที่มาของแนวคิดมาจากตะวันตก ที่มองว่าสังคมสมัยใหม่ ทำให้เกิดการสูญเสียความเป็นชุมชน (Sense of Community)เงื่อนไข ของสังคมสมัยใหม่ไม่สามารถตอบสนองให้ปัจเจกบุคคลเกิดความมั่นคง เพราะมีขนาดใหญ่ ซับซ้อนเป็นทางการเกินไป รัฐจะเคลื่อนไหวในนามของรัฐ เช่น สงคราม หรือการค้าระหว่างประเทศ
- ทางเลือกที่นักคิดแนวนี้เสนอ คือ เรียกร้องให้ชุมชนมีขนาดเล็ก มีโครงสร้างที่แน่นเหนียว เพราะชุมชนขนาดเล็กเท่านั้น จะช่วยฟื้นฟู สภาพความสัมพันธ์ทางสังคมให้ดีขึ้น เพราะจะรับผิดชอบต่อหน่วยที่เล็กที่สุด ชุมชนขนาดเล็กเน้นการกระทำที่เต็มไปด้วยความร่วมมือ ร่วมใจ ความรู้สึกเป็นเจ้าของ เป็นสังคมที่คนรู้จักกันอย่างใกล้ชิดสนิทสนม
 
.ชุมชนในรูปแบบใหม่ หรือชุมชนเสมือนจริง (Virtual Community)
- เกิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยี และปัญหาของสังคมสมัยใหม่ ที่ทวีความซับซ้อนและรุนแรงขึ้น การพิจารณาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหา ไม่อาจจำกัดอยู่ในปริมณฑลของชุมชนที่มีอาณาเขตทางภูมิศาสตร์เล็กๆ ได้เพียงลำพัง
- ชุมชนแบบใหม่ มีลักษณะเป็นชุมชนไร้พรมแดน สมาชิกหรือผู้สนใจสามารถเข้าร่วมได้โดยไม่จำกัดแหล่งที่อยู่ ตราบที่ข่ายเทคโนโลยีทางการสื่อสารครอบคลุมถึง อาจเป็นลักษณะชุมชนทางอากาศ เช่น รายการวิทยุชุมชน ชุมชนเครือข่ายทางอินเตอร์เน็ต สมาชิกไม่จำเป็นต้องอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เดียวกัน
- ลักษณะความเป็นชุมชนคือสายใยหรือข่าย (WEB)ของความสัมพันธ์ทางสังคมมีพลังความยึดโยง สนับสนุนเกื้อกูลกัน โดยมีข่ายทางเทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมโยงความสัมพันธ์และการสื่อสารของผู้คนต่างๆ โดยมีสมาชิกไม่จำกัดเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ เพศ วัย ศาสนา ฐานะทางเศรษฐกิจ ฯลฯ
 
ชุมชนตามแนวคิดทางสังคมวิทยา
ชุมชนตามแนวคิดทางสังคมวิทยาหมายถึงหน่วยทางสังคมและทางกายภาพ ได้แก่ ละแวกบ้าน หมู่บ้าน เมือง มหานคร George Hillery (อ้างถึงใน ปาริชาติ วลัยเสถียร,๒๕๔๓) ให้ความหมายร่วมจากคำจำกัดความของชุมชนว่าชุมชนประกอบด้วย
.อาณาบริเวณทางภูมิศาสตร์ (Geographical area – territorial)
.ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social Interaction – Sociological)
.มีความผูกพัน (Common ties – psycho cultural)
อย่างไรก็ตาม มีผู้โต้แย้งวิธีการสรุปหาคำจำกัดความในแบบของ Hillery ว่าจริงๆ แล้วไม่อาจหาคำจำกัดความตายตัวมาอธิบายลักษณะของชุมชนทุกชุมชนเพราะแต่ละชุมชนจะมีความแตกต่างกันออกไป หากพยายามจะหาลักษณะร่วมแล้ว ธาตุแท้ของชุมชนบางชุมชนจะขาดหายไป จากคำจำกัดความอันเป็นคำกลางๆ นั้น (Plant, 1974 p. 9-18) ในขณะที่ Poplin (1979, p. 9-18)ได้กล่าวถึงชุมชนใน สถานะ คือ
.ชุมชนในฐานะหน่วยทางภูมิศาสตร์ (Community as a territorial unit)
.ชุมชนในฐานะหน่วยขององค์กรทางสังคม (Community as a unit of Social
Organization)
.ชุมชนในฐานะหน่วยทางจิตวิทยาวัฒนธรรม (Community as a psycho cultural
unit)
และได้นิยามแนวคิดและขอบเขตของชุมชนว่า ต้องประกอบลักษณะ ประการ คือ
.กลุ่มคนที่มาอยู่รวมกันในพื้นที่ หรือบริเวณหนึ่ง (Geo-graphic area)
.สมาชิกมีการติดต่อระหว่างกันทางสังคม (Social Interaction)
.สมาชิกมีความสัมพันธ์ต่อกันทางสังคม (Social Relationship)
.มีความผูกพันทางด้านจิตใจต่อระบบนิเวศ (Psycho-Ecological Relationship)
.มีกิจกรรมส่วนรวม เพื่อใช้ประโยชน์ (Central activities for utilization)
 
สรุปความเป็นชุมชน
.ความเป็นชุมชนไม่ได้มีความหมายตายตัว แต่มีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา
.บรรดานักวิชาการ นักพัฒนา ฯลฯ ผู้คนที่ให้ความหมายของคำว่าชุมชน ต่างให้ความหมายที่สอดคล้องกับความรู้ ทัศนคติ และหรือผลประโยชน์ของตน
.การจำกัดคำนิยามของคำว่าชุมชน ในแนวใดแนวหนึ่ง ย่อมขาดความหลากหลาย หรือความไม่เข้าใจในความเป็นชุมชน
.ชุมชนไม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญทางพื้นที่หรืออาณาบริเวณทางภูมิศาสตร์แต่ขณะเดียวกันชุมชนก็ไม่ได้อยู่อย่างเอกเทศ โดยไม่มีความสัมพันธ์กับหน่วยอื่นๆ
.ความเป็นชุมชนอาจเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ และความเกาะเกี่ยวกันของกลุ่มคนในระดับต่างๆ ในมิติทางวัฒนธรรม อำนาจและผลประโยชน์
.ความเป็นชุมชนไม่ได้หมายถึงความสัมพันธ์ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่มีแต่มิตรภาพและความเอื้ออาทร ในชุมชนขนาดเล็ก หรือชุมชนตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เท่านั้น
.ความเป็นชุมชนอาจแทรกอยู่กับประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ชุมชนขนาดเล็ก ที่สมาชิกมีความสัมพันธ์ทางสังคมแบบส่วนตัว รู้จักช่วยเหลือกัน ในอาคารชุดโรงงานอุตสาหกรรม จนถึงความสัมพันธ์แบบเครือข่าย ประเภทต่างๆ ตลอดจนเครือข่ายทางเทคโนโลยีการสื่อสารที่เชื่อมโยงมนุษย์ ให้สามารถติดต่อกันทั่วโลก
 
ดังนั้นชุมชนจึงหมายรวมถึง ชุมชนเชิงพื้นที่ (Area-based Community)และชุมชนเชิงประเด็น (Issue-based Community or Community of Interests)