มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน

You are here:

ส่วนที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจาก พ.ร.บ.

อีเมล พิมพ์ PDF

5. การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจาก พ.ร.บ. การจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ และโทรคมนาคม

ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจาก พ.ร.บ. การจัดสรรคลื่นความถี่
วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ และโทรคมนาคม ปี พ.ศ. 2552
ผู้ตอบแบบสอบส่วนใหญ่มีความเห็นว่าไม่ยินยอมต่อการออก พ.ร.บ. การจัดสรร
คลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ และโทรคมนาคม ปี พ.ศ. 2552  คิดเป็นร้อยละ 94.3 และยินยอมให้มีการออก กฎหมายเกี่ยวกับสถานีวิทยุชุมชน คิดเป็นร้อยละ 3.5
เมื่อจำแนกตามเพศพบว่า เพศชายส่วนใหญ่ไม่ยินยอมให้ออก พ.ร.บ. คิดเป็นร้อยละ 93.2 ส่วน เพศหญิง ส่วนใหญ่ไม่ยินยอมให้ ออก พ.ร.บ. คิดเป็นร้อยละ 94.9
                เมื่อจำแนกความเห็นตามช่วงอายุ พบว่า ช่วงอายุต่ำกว่า 20 ปี ส่วนใหญ่มีความเห็นไม่ยินยอมต่อการออก พ.ร.บ. คิดเป็นร้อยละ 96.7  ช่วงอายุ 21-30 ปี ส่วนใหญ่มีความเห็นไม่ยินยอมต่อการออก พ.ร.บ. คิดเป็นร้อยละ 95.7 ช่วงอายุ 31-40 ปี ส่วนใหญ่มีความเห็นไม่ยินยอมต่อการออก พ.ร.บ. คิดเป็นร้อยละ 94.7  ช่วงอายุ 41-50 ปี ส่วนใหญ่มีความเห็นไม่ยินยอมต่อการออก พ.ร.บ. คิดเป็นร้อยละ 95.2  ช่วงอายุ 51-60 ปี ส่วนใหญ่มีความเห็นไม่ยินยอมต่อการออก พ.ร.บ. คิดเป็นร้อยละ 98.6  และช่วงอายุสูงกว่า 60 ปี ส่วนใหญ่มีความเห็นไม่ยินยอมต่อการออก พ.ร.บ. คิดเป็นร้อยละ 96.9
                เมื่อจำแนกความคิดเห็นของประชาชนตามอาชีพผู้ตอบแบบสอบถาม ต่อความยินยอมในการลดคลื่นความถี่ของคลื่นวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน พบว่า อาชีพเกษตรกร และ อาชีพอิสระ ไม่ยินยอมให้มีการลดคลื่นความถี่ฯ   คิดเป็นร้อยละ 100 เท่ากัน พ่อบ้าน แม่บ้าน ส่วนใหญ่ไม่ยินยอมให้มีการลดฯ คิดเป็นร้อยละ 98.6  อาชีพ อาชีพนักเรียน นักศึกษา ส่วนใหญ่ไม่ยินยอมให้มีการลดคลื่นความถี่ฯ คิดเป็นร้อยละ 98  อาชีพนักบวช ส่วนใหญ่ไม่ยินยอมให้มีการลดคลื่นความถี่ฯ   คิดเป็นร้อยละ 96.4  อาชีพรับราชการ   ส่วนใหญ่ไม่ยินยอมให้มีการลดคลื่นความถี่ฯ คิดเป็นร้อยละ 96.2   อาชีพรับจ้างและอาชีพข้าราชการเกษียณ ส่วนใหญ่ไม่ยินยอมให้มีการลดคลื่นความถี่ฯ   คิดเป็นร้อยละ 96 เท่ากัน อาชีพพนักงานเอกชน ส่วนใหญ่ไม่ยินยอมให้มีการลดคลื่นความถี่ฯ   คิดเป็นร้อยละ 95.5    อาชีพค้าขาย ส่วนใหญ่ไม่ยินยอมให้มีการลดคลื่นความถี่ฯ   คิดเป็นร้อยละ 94.1    และ อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่ไม่ยินยอมให้มีการลดคลื่นความถี่ฯ   คิดเป็นร้อยละ 91.3 
และพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นว่าแนวทางการดำเนินการคือการ
เสนอความเห็นต่อรัฐบาลโดยตรง คิดเป็นร้อยละ 23.2 รองลงมาคือการส่งผู้แทนพบรัฐมนตรี คิดเป็นร้อยละ 22.1 สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน คิดเป็นร้อยละ 19.3 ร้องเรียนผ่านสื่อให้รัฐบาลแก้ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 16.6   ร้องเรียน สส. สว. ในเขตพื้นที่ คิดเป็นร้อยละ 14.1 และมีความคิดเห็นอื่นๆ เช่น การประท้วง คิดเป็นร้อยละ 4.6  ตามลำดับ